การให้บริการเพื่อความยั่งยืน

ให้บริการด้านข้อมูล เครื่องมือการประเมิน การให้คำปรึกษาทั้งกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน การทวนสอบและการตรวจสอบข้อมูล ตลอดจนการให้บริการอบรมต่าง ๆ

ข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนความยั่งยืน

LCI / EF / WSI / SCP / 10YFP / EPI / SDG & Dashboard 

เครื่องมือการประเมินความยั่งยืน

Lookie Waste / WELA / MFA Pro

ที่ปรึกษาเพื่อประเมินความยั่งยืน

LCA / CFP / CFO / WF / EE / CE / SI

ถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อความยั่งยืน

LCA / CFP / CFO / WF / EE / CE

ข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนความยั่งยืน

การให้บริการฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตและค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยมลสาร

  •   ข้อมูลบัญชีรายการสิ่งแวดล้อม (National Life Cycle Inventory Database: NLCI DB)
  •  ค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs Emission Factor: EF)
  •  ดัชนีการขาดแคลนน้ำ (Water Scarcity Index: WSI)
ข้อมูลบัญชีรายการสิ่งแวดล้อมที่ TIIS ให้บริการแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
  • 1) ข้อมูลบัญชีรายการสิ่งแวดล้อม แบบ Gate to Gate หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่รวบรวมข้อมูลเฉพาะขั้นตอนการผลิต ณ โรงงาน โดยไม่รวมผลกระทบจากขั้นตอนการได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่งวัตถุดิบมายังโรงงาน รวมถึงช่วงการใช้งานและการทำลายซากเมื่อหมดอายุ
  • 2) ข้อมูลบัญชีรายการสิ่งแวดล้อม แบบ Cradle to Gate หมายถึง ข้อมูลข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่รวบรวมข้อมูลตั้งแต่ขั้นตอนการได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่งวัตถุดิบมายังโรงงาน ไปจนถึงการผลิตผลิตภัณฑ์ในโรงงาน โดยไม่รวมผลกระทบในช่วงการใช้งานและการทำลายซากเมื่อหมดอายุ

ค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs Emission Factor: EF) เป็นค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตหรือการบริการ ที่คิดรวมค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพในการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (Climate Change) อาทิ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) และก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3) ทั้งนี้ ค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกนี้ มีความสำคัญต่อการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ ฉลากด้านสิ่งแวดล้อม (ฉลากคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร ฉลากคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ ฉลากลดคาร์บอน) ที่สำคัญและรู้จักกันอย่างแพร่หลายของผู้ประกอบในประเทศไทย

ค่าสัมประสิทธิ์การขาดแคลนน้ำ Water Scarcity Index (WSI) เป็นค่าที่แสดงถึงความต้องการใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีมิติของความต้องการใช้น้ำเชิงพื้นที่รวมอยู่ด้วย หากพื้นที่ใดมีปริมาณความต้องการใช้น้ำมาก จะส่งผลให้ค่าสัมประสิทธิ์การขาดแคลนน้ำมีค่าสูงกว่าพื้นที่ที่มีปริมาณความต้องการใช้น้ำที่น้อยกว่า ทั้งนี้ ค่าสัมประสิทธิ์นี้มีความสำคัญต่อการประเมินวอเตอร์ฟุตพรินต์ หนึ่งในฉลากด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญในปัจจุบัน

เครื่องมือการประเมินความยั่งยืน

ระบบและเครื่องมือการคำนวณที่ช่วยสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาด้านการประเมินความยั่งยืนและการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

ตัวอย่างระบบและเครื่องมือการคำนวณที่สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้พัฒนาขึ้น:

LookieWaste

LookieWaste: แอพพลิเคชั่นเพื่อตรวจสอบขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์

ที่มาหรือความสำคัญของการวิจัย

ปัญหาการสูญเสียอาหารนับเป็นประเด็นที่ทุกประเทศล้วนให้ความสำคัญ เนื่องจากการสูญเสียอาหารมีผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารของคนในประเทศ รวมทั้งคุณภาพอาหาร และความปลอดภัย ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดทั้งข้อมูลและระบบจัดเก็บข้อมูลการสูญเสียอาหารและขยะอาหารอย่างเป็นระบบ อีกทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับขยะอาหารเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งเข้าถึงข้อมูลรายบุคคล มีความยุ่งยาก สิ้นเปลืองทั้งแรงงานและงบประมาณ ดังนั้น สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยังยืน (TIIS) ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนวิจัยจาก UN environment จึงวิจัยและพัฒนาแอพพลิเคชั่น Lookie Waste เพื่อตรวจสอบขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์อาหารได้อย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักในการบริโภคอาหารผ่านแนวคิดตลอดวัฏจักรชีวิต อันจะนำไปสู่การลดปริมาณขยะอาหารต่อไป

รายละเอียดเพิ่มเติม

ที่ปรึกษาเพื่อประเมินความยั่งยืน

ให้คำปรึกษาด้านเทคนิค โดยใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือด้านการจัดการความยั่งยืนที่เหมาะสมเพื่อประเมินสมรรถนะของลูกค้า รวมถึงวิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่สำคัญและร่วมให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อความยั่งยืน

บริการถ่ายทอดองค์ความรู้และฝึกอบรมภายในองค์กร (In – house Training) ทั้งหลักสูตรการประเมิน LCA / CFP / CFO / WF / EE

รายละเอียดเพิ่มเติม