ตัวอย่างของฐานข้อมูลที่จัดทำ อาทิ ไฟฟ้า การขนส่ง เชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคการผลิตและภาคการขนส่ง ปศุสัตว์ อาหารสัตว์ ผัก-ผลไม้ และสิ่งทอ เป็นต้น ทั้งนี้ ฐานข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทั้งอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ปัจจุบันมีผู้นำฐานข้อมูลไปใช้อย่างกว้างขวางทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในส่วนของหน่วยงานภาครัฐปัจจุบัน ฐานข้อมูลของประเทศมีความสำคัญต่อตัวชี้วัดร่วมระดับกระทรวง (Joint KPI) อาทิ แผนยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Growth) แผนส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green GPP) และการประเมินผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่คิดรวมต้นทุนด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประเทศ (Green GDP) เป็นต้น ในส่วนของผู้ประกอบการภาคเอกชน ฐานข้อมูลเหล่านี้สามารถช่วยในการตัดสินใจและทราบจุดสำคัญสำหรับการปรับปรุงกระบวนการผลิตของตนเองให้ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยปล่อยมลสารสู่สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดได้ เพื่อมุ่งสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเพื่อขอการรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทต่างๆ อาทิ คาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product; CFP) คาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization; CFO) และฟุตพรินต์สิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ (Product of Environmental Footprint; PEF) เป็นต้น เพื่อเพิ่มศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการให้พร้อมรับกับกฎระเบียบที่อาจเป็นเครื่องกีดกันทางการค้าและเตรียมพร้อมสำหรับการปรับเปลี่ยนไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน อันเป็นแนวทางและนโยบายที่สำคัญของประเทศไทยในปัจจุบัน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ:
จิตติ มังคละศิริ
นักวิจัยอาวุโส
02 564 6500 ต่อ 4063
jitti.mungkalasiri@nstda.or.th
Copyright © 2019 สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทย.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ