การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐอย่างยั่งยืน เป็นหนึ่งในหัวข้อสำคัญของการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีการกำหนดไว้ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าประสงค์ที่ 12.7 (ส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่ยั่งยืน ตามนโยบายและการให้ลำดับความสำคัญของประเทศ)
เนื่องด้วยภาครัฐเป็นหน่วยงานที่มีกำลังการจัดซื้อที่มีมูลค่าสูงคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในกลุ่มประเทศ OECD และร้อยละ 30 ของ GDP ในประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่ง [1] การใช้ประโยชน์จากกำลังซื้อของภาครัฐนี้สามารถส่งเสริมให้บรรลุการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (SDG 12) ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยการจัดทำกลยุทธ์และแนวปฏิบัติด้านนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่ยั่งยืนอย่างชัดเจน รวมถึงจำเป็นต้องมีมาตรฐาน กฎระเบียบ และเครื่องมือ ที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการดำเนินงานของทั้งภาครัฐ และภาคผู้ผลิตและภาคบริการด้วย
โปรแกรม SPP เป็นความร่วมมือในการขับเคลื่อนระหว่างหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่
นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการที่ปรึกษาผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (A Multi-stakeholder Advisory Committee; MAC)
ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชนธุรกิจภาคเอกชน องค์กรระหว่างรัฐบาล รวมถึงสถาบันการศึกษา
และหน่วยงานของสหประชาชาติ ที่ได้ให้การสนับสนุนผู้นำร่วม (Co-Leads) ในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอย่างยั่งยืน
อ้างอิง
[1] UN environment programme. Sustainable Public Procurement. Available online at https://www.unenvironment.org/explore-topics/resource-efficiency/what-we-do/sustainable-public-procurement
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ:
จิตติ มังคละศิริ
นักวิจัยอาวุโส
02 564 6500 ต่อ 4063
jitti.mungkalasiri@nstda.or.th
Copyright © 2019 สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทย.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ