เกษตรและอาหาร

การผลิตสินค้าเกษตรและอาหารจำนวนมากเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรส่งผลต่อปริมาณทรัพยากรที่ใช้ในการเพาะปลูกและกระบวนการผลิต รวมทั้งปริมาณของเสียที่เพิ่มมากขึ้น การนำหลักการ ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’ มาประยุกต์ใช้กับภาคการเกษตรและอาหาร นับเป็นโอกาสในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรที่สำคัญในอนาคต

ประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมเกษตรและเป็นผู้นำการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ความมั่นคงด้านอาหารคือความท้าทายเกี่ยวกับการเติบโตและความเป็นอยู่ของประชากร จากข้อมูลสถิติการค้าระหว่างประเทศของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ Department of International Trade Promotion, Ministry of Commerce Thailand พบว่าในปี 2561 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกปริมาณสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรสูงถึง 23,160.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 16.25 ของสินค้าส่งออกทั้งหมด โดยสินค้าทางการเกษตรที่มีสัดส่วนสูงที่สุดคือ สินค้ากสิกรรม ได้แก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ผักผลไม้ และพืชน้ำมัน รองลงมาคือ สินค้าปศุสัตว์ และสินค้าประมง ตามลำดับ หากพิจารณาในมุมมองของปริมาณการบริโภคทรัพยากรของประเทศ (Domestic Material Consumption: DMC) พบว่าในปี 2558 ประเทศไทยมีการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ ประเภทชีวมวล เป็นสัดส่วนสูงถึง 38% ของทรัพยากรทั้งหมด โดยมีปริมาณการผลิตภายในประเทศ (Domestic Extraction: DE) 281.6 ล้านตัน ซึ่งมีปริมาณพืชเกษตรสูงมากที่สุดถึง 189.8 ล้านตัน หรือ 67% ของการผลิตชีวมวลภายในประเทศ

จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ประเทศไทยมีปริมาณการผลิตและการส่งออกทรัพยากรด้านการเกษตรสูง โดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตร ซึ่งส่งผลต่อปริมาณของเสียจากการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ซึ่งจะแปรผันตรงกับปริมาณการผลิตสินค้าทางการเกษตร หากไม่มีการจัดการทรัพยากรที่เหมาะสมกษตร ลิตภัณฑ์ทางการเกษตร นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรทางการเกษตรและสัดส่วนการนำไปใช้ประโยชน์อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ดังนั้นการนำหลักการ “เศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้กับภาคการเกษตร เช่น การนำของเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร จะสามารถช่วยลดของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรอีกด้วย

ข้อมูลสารสนเทศเชิงบูรณาการที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเกษตรและอาหาร ประกอบด้วย ชุดข้อมูลเชิงบูรณาการที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะทางการเกษตร (Agronomic characteristics) ประกอบด้วย ปัจจัยการผลิต พลังงาน รูปแบบการจัดการทางการเกษตร คุณภาพของดิน ภูมิศาสตร์ ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณค่าทางสังคม การนำเศษเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ ปัจจัยการเกิดขยะอาหาร

 

 


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ:

นงนุช พูลสวัสดิ์
นักวิจัย
02 564 6500 ต่อ 4857
nongnucp@mtec.or.th