พัฒนาวิธีการใหม่สำหรับประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม (Methodologies)
พัฒนากลุ่มตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability Indicator Set)
พัฒนาวิธีการประเมินการพัฒนาอย่างยั่งยืนขั้นสูง (Advanced Sustainability Assessment)
โมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่ หรือ BCG โมเดล เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก ได้แก่ B ย่อมาจาก Bio Economy คือ ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า C ย่อมาจาก Circular Economy คือ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และ G ย่อมาจาก Green Economy คือ ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน
รายละเอียดเพิ่มเติมฟุตพรินต์วัสดุ (MATERIAL FOOTPRINT: MF) เป็นตัวชี้วัดปริมาณการใช้วัสดุเสมือนจริงโดยปันส่วนมาจากการสกัดวัสดุจากทั่วโลกเพื่อสนองความต้องการขั้นสุดท้ายภายในประเทศ ฟุตพรินต์วัสดุทั้งหมดเป็นผลรวมของฟุตพรินต์วัสดุจากชีวมวล (BIOMASS) เชื้อเพลิงฟอสซิล (FOSSIL FUELS) แร่โลหะ (METAL ORES) และแร่อโลหะ (NON-METAL ORES) ซึ่งการรายงานผลควรพิจารณาข้อมูลการใช้วัสดุในประเทศ (DOMESTIC MATERIAL CONSUMPTION: DMC) และฟุตพรินต์วัสดุ (MATERIAL FOOTPRINT: MF) ร่วมกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมการประเมินผลกระทบตลอดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Impact Assessment: LCIA) เป็นขั้นตอนที่ 3 ของการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment: LCA) ตามมาตรฐาน ISO 14042 นับเป็นขั้นตอนสำคัญในการวิเคราะห์ถึงปัญหาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์หรือบริการ มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลงข้อมูลบัญชีรายการสิ่งแวดล้อมที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลสารขาเข้าและสารขาออกของระบบผลิตภัณฑ์ จากขั้นตอนการวิเคราะห์บัญชีรายการสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในรูปตัวชี้วัดผลกระทบสิ่งแวดล้อมในเชิงปริมาณ เพื่อบ่งชี้ค่าความสามารถในการก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมขั้นกลางหรือขั้นปลาย ทำให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างระบบผลิตภัณฑ์กับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจะเกิดขึ้น
รายละเอียดเพิ่มเติมการดำเนินการงานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นประกอบด้วยแนวทางที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งจะต้องเป็นหลักการที่พิจารณาทั้งต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก โดยนอกจากนี้ในการดำเนินงานนั้นต้องมีเงื่อนไขที่สำคัญอีก 2 เรื่อง ทั้งเงื่อนไขความรอบรู้ในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ความรอบคอบในเรื่องที่ทำ รวมถึงเงื่อนไขเรื่องความมีคุณธรรม ในการดำเนินงานตามแนวทางปรัชญา ฯ ดังกล่าว สามารถนำไปสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรให้เข้าสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้
รายละเอียดเพิ่มเติมบริการของระบบนิเวศ คือ ผลประโยชน์ที่มนุษย์ได้รับจากระบบนิเวศ ตัวอย่างเช่น ธรรมชาติของน้ำและป่าไม้ ที่มีความสามารถในการควบคุมสภาพภูมิอากาศและป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ (อาทิ การป้องกันการกัดเซาะของดิน การรองรับมลพิษ และการก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์) โดยบริการของระบบนิเวศ ตาม Millenium Ecosystem Assessment (2005) แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ การเป็นแหล่งผลิต การควบคุมกลไกลทางธรรมชาติ การบริการด้านวัฒนธรรม และ บริการด้านการเป็นแหล่งสนับสนุน
รายละเอียดเพิ่มเติมหนึ่งในสามของอาหารที่ผลิตขึ้นในโลกมีการสูญเสียและถูกทิ้งขว้างไปอย่างไร้ประโยชน์ (FAO, 2011) และปริมาณขยะมูลฝอยชุมชน (Municipal solid waste) ของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเฉพาะปริมาณขยะอาหาร (Food waste) ที่มีสัดส่วนสูงสุดของปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด (กรมควบคุมมลพิษ, 2559)
รายละเอียดเพิ่มเติมCopyright © 2019 สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทย.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ