การบูรณาการข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

“วิเคราะห์ เชื่อมโยง และประยุกต์ใช้เพื่อการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน”

 

เกษตรและอาหาร

การผลิตสินค้าเกษตรและอาหารจำนวนมากเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรส่งผลต่อปริมาณทรัพยากรที่ใช้ในการเพาะปลูกและกระบวนการผลิต รวมทั้งปริมาณของเสียที่เพิ่มมากขึ้น การนำหลักการ ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’ มาประยุกต์ใช้กับภาคการเกษตรและอาหาร นับเป็นโอกาสในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรที่สำคัญในอนาคต

รายละเอียดเพิ่มเติม  

วัสดุก่อสร้างและอาคาร

ภาคการก่อสร้างเป็นหนึ่งในภาคสำคัญของเศรษฐกิจและมีการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติและสร้างของเสียมากที่สุด ของเสียจากการก่อสร้างและการรื้อถอนมีปริมาณสูงมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากประเทศไทยมีการก่อสร้างโครงสร้างสาธารณูปโภคอย่างก้าวกระโดด แต่กลับพบว่าการจัดการขยะประเภทดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นการนำหลักการ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” มาประยุกต์ใช้จะสามารถช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาการจัดการขยะจากภาคการก่อสร้าง รวมทั้งการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของการรีไซเคิลในอนาคต

รายละเอียดเพิ่มเติม  

พฤติกรรมและรูปแบบการดำรงชีวิต

การศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค นับเป็นสิ่งสำคัญหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการบริโภคไปสู่ความยั่งยืน

รายละเอียดเพิ่มเติม  

การสื่อสารและถ่ายทอดข้อมูลด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน

การเชื่อมโยงและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบูรณาการผ่านทาง ระบบ SUStainability & Circular Economy Analytics Center (SustainCE) รวมทั้งรูปแบบการนำเสนอข้อมูล (Data Visualization) นับเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากง่ายต่อการเข้าใจและสามารถมองเห็นภาพรวม เพื่อสนับสนุนการนำไปใช้ประโยชน์ในหลายมิติ

รายละเอียดเพิ่มเติม