ปัญหาและแนวทางการจัดการขยะของประเทศไทย

ปี 2021  |  สรุปข้อมูลสำคัญ

ปัญหาขยะในประเทศไทยนับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นโดยเฉพาะปัญหาขยะตกค้างในสิ่งแวดล้อม จากรายงานของกรมควบคุมมลพิษระบุว่าในปี 2563 มีขยะที่ไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องปริมาณ 7.88 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 31 จากปริมาณที่เกิดขึ้นทั้งหมดในปีนั้น ขยะส่วนนี้ก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมาก ทั้งเรื่องการเกิดแหล่งเชื้อโรคสะสม การรั่วไหลของขยะออกสู่ขยะกลายเป็นขยะทะเล หรือแม้กระทั่งการสะสมของไมโครพลาสติกในอาหารทะเลอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงได้จัดทำ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573 โดยเป้าหมายสูงสุดของ Roadmap นี้คือ การนำขยะพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 ภายใต้ Roadmap นี้ได้แบ่งแผนปฏิบัติการออกเป็นทั้งหมด 3 ระยะด้วยกัน คือ ระยะที่ 1 (พ.ศ.2561-2562) ระยะที่ 2 (พ.ศ.2563-2565) และระยะที่ 3 (พ.ศ.2566-2573) ซึ่งทั้ง 3 ระยะนั้นจะดำเนินมาตรการลดการเกิดขยะพลาสติก ณ แหล่งกำเนิด มาตรการลด เลิกใช้พลาสติก ณ ขั้นตอนการบริโภค และมาตรการจัดการขยะพลาสติกหลังการบริโภค หากประเทศไทยสามารถดำเนินการตาม Roadmap การจัดการขยะพลาสติก และแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573 ให้บรรลุได้ตามเป้าหมาย จะสามารถลดปริมาณขยะพลาสติกที่ต้องนำไปกำจัดได้ประมาณ 0.78 ล้านตันต่อปี และสามารถประหยัดงบประมาณในการจัดการขยะมูลฝอยได้ประมาณ 3,900 ล้านบาทต่อปี ซึ่งในการดำเนินงานให้บรรลุหมายนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคของประชาชนที่จะมีบทบาทอย่างมากตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ยกตัวอย่างเช่น การเลือกซื้อ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจนกระทั่งการส่งคืนซากเมื่อใช้งานเสร็จสิ้นแล้ว หรือ แม้แต่การตัดวงจรการเกิดขยะโดยการลดการใช้ การใช้ซ้ำ เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นภาคประชาชนมีส่วนสำคัญที่สามารถช่วยให้การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการนี้สำเร็จตามเป้าหมาย

สำหรับรายละเอียดมาตรการในการดำเนินงานจะเป็นอย่างไร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้โดยดาวน์โหลดเอกสารทางด้านล่าง:

 

สรุปข้อมูลสำคัญ

ปี 2021  |  สรุปข้อมูลสำคัญ

รูปแบบเอกสารอธิบายรายละเอียดชุดข้อมูล ที่ผู้ให้บริการฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลกเลือกใช้

ในการเผยแพร่ฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม (LCA Database) สิ่งที่ผู้ให้บริการข้อมูลฯ หรือในที่นี้จะขอเรียกว่า Dataset Provider ทุกรายต้องดำเนินการ คือ การจัดทำเอกสารอธิบายรายละเอียดชุดข้อมูลวัฏจักรชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่า Data Documentation ซึ่งรูปแบบของเอกสาร (Data Format) จะต้องมีความสอดคล้องตามมาตรฐาน ISO/TS 14048 – Data documentation format

ปี 2018  |  สรุปข้อมูลสำคัญ

โครงการจัดทำฐานข้อมูลของอุตสาหกรรมหม่อนไหม (ไหมหัตถกรรม)

สำนักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม กรมหม่อนไหม ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (สวทช.) ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลแบบ Gate to Gate และ Cradle to Gate ของไหมหัตถกรรม โดยดำเนินการรวบรวมข้อมูลปีการผลิต 2559-2560 ได้ฐานข้อมูล LCI รวม 16 ฐานข้อมูล