ในการเผยแพร่ฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม (LCA Database) สิ่งที่ผู้ให้บริการข้อมูลฯ หรือในที่นี้จะขอเรียกว่า Dataset Provider ทุกรายต้องดำเนินการ คือ การจัดทำเอกสารอธิบายรายละเอียดชุดข้อมูลวัฏจักรชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่า Data Documentation ซึ่งรูปแบบของเอกสาร (Data Format) จะต้องมีความสอดคล้องตามมาตรฐาน ISO/TS 14048 – Data documentation format
ปัจจุบัน LCA Dataset Provider มีมากกว่า 15 รายทั่วโลก ทั้งจากกลุ่มประเทศทางฝั่งสหภาพยุโรป อเมริกา และเอเชีย โดย Dataset Provider เหล่านี้จะมีจำนวนชุดข้อมูล (Dataset) ที่เผยแพร่แตกต่างกันไป โดยมีทั้งชุดข้อมูลที่สามารถใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และชุดข้อมูลที่มีค่าธรรมเนียมในการใช้งาน ซึ่งเผยแพร่ไว้ผ่านทางเว็บไซต์ของ The Global LCA Data Access Network (GLAD) (https://www.globallcadataaccess.org/) ทั้งนี้ เครือข่ายดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงและแลกเปลี่ยน LCA Database ระหว่างประเทศ หรือระหว่างผู้ให้บริการข้อมูลฯ ทั่วโลกได้
สำหรับ LCA Data Documentation Format ที่ผู้ให้บริการข้อมูลฯ ทั่วโลกเลือกใช้จะเป็นรูปแบบใด และสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS) เลือกใช้รูปแบบใดในการเผยแพร่ฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้โดยดาวน์โหลดเอกสารทางด้านล่าง:
ปัญหาขยะในประเทศไทยนับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นโดยเฉพาะปัญหาขยะตกค้างในสิ่งแวดล้อม จากรายงานของกรมควบคุมมลพิษระบุว่าในปี 2563 มีขยะที่ไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องปริมาณ 7.88 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 31 จากปริมาณที่เกิดขึ้นทั้งหมดในปีนั้น ขยะส่วนนี้ก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมาก ทั้งเรื่องการเกิดแหล่งเชื้อโรคสะสม การรั่วไหลของขยะออกสู่ขยะกลายเป็นขยะทะเล หรือแม้กระทั่งการสะสมของไมโครพลาสติกในอาหารทะเลอีกด้วย
สำนักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม กรมหม่อนไหม ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (สวทช.) ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลแบบ Gate to Gate และ Cradle to Gate ของไหมหัตถกรรม โดยดำเนินการรวบรวมข้อมูลปีการผลิต 2559-2560 ได้ฐานข้อมูล LCI รวม 16 ฐานข้อมูล
Copyright © 2019 สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทย.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ