วิธีการประเมินขยะอาหาร (Food Waste Methodology)

หนึ่งในสามของอาหารที่ผลิตขึ้นในโลกมีการสูญเสียและถูกทิ้งขว้างไปอย่างไร้ประโยชน์ (FAO, 2011) และปริมาณขยะมูลฝอยชุมชน (Municipal solid waste) ของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเฉพาะปริมาณขยะอาหาร (Food waste) ที่มีสัดส่วนสูงสุดของปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด (กรมควบคุมมลพิษ, 2559)

จากปัญหาขยะอาหารเหล่านี้นำไปสู่การดำเนินงานที่มุ่งวิจัยศึกษาวิธีการประเมินขยะอาหารในระดับครัวเรือนที่เหมาะสมในบริบทของชุมชนเมืองประเทศไทย โดยปรับใช้จากวิธีการประเมินตามมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน เพื่อให้ทราบถึงปริมาณขยะอาหารที่เกิดขึ้นจริง และระดับความรุนแรงของปัญหาในด้านขยะอาหารในระดับครัวเรือนของสถานการณ์ปัจจุบัน และจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ รวมถึงจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานตามวิธีการประเมินปริมาณขยะอาหารที่เหมาะสมในบริบทของประเทศไทย และสามารถนำองค์ความรู้และข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในเป็นฐานข้อมูลในการกำหนดนโยบายและวางมาตรแนวทางการลดและป้องกันขยะอาหารในการวางยุทธศาสตร์แผนพัฒนาประเทศ ก่อให้เกิดการส่งผลกระทบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้บริโภค รวมถึงเกิดการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถนำไปขยายผลต่อยอดในระดับประเทศได้

 

เอกสารอ้างอิง:

  1. Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO). 2011. Global food losses and food waste – Extent, causes and prevention. Rome [Online]. Available at: https://www.fao.org/3/a-i2697e.pdf
  2. สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. [Online]. Available at: https://infofile.pcd.go.th/waste/wsthaz_annual59.pdf

 


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ:


เบญจมาภรณ์  ถนอมนิ่ม
ผู้ช่วยวิจัย
02 564 6500 ต่อ 4770
benjamaporn.tha@mtec.or.th