การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เสาหลักสุขภาพและอนามัย ภายใต้โครงการการศึกษาการจัดทำข้อมูลอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวตามบริบทของไทย

ปี 2021  |  ข่าวและกิจกรรม

การจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อนำเสนอผลการศึกษาการจัดทำข้อมูลอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวตามบริบทของไทย ในเสาหลักสุขภาพและอนามัย (Pillar: Health and Hygiene) จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2564 เวลา 09.30 – 12.00 น. ผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกล (Video conference) ด้วยโปรแกรม Cisco Webex Meetings มีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานสำคัญของไทย อาทิ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สภาหอการค้าไทยแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

การศึกษาดังกล่าวเป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการ “การศึกษาการจัดทำข้อมูลอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวตามบริบทของไทย” โดยสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทสย.) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาระเบียบวิธีการจัดทำข้อมูลและจัดอันดับดัชนีความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย ใน 3 เสาหลัก ประกอบด้วย สุขภาพและอนามัย ความมั่นคงปลอดภัย และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างเครือข่ายการทำงานของทั้งภาครัฐและเอกชนในด้านการบริหารและจัดการข้อมูล และหาแนวทางที่เป็นไปได้ในการยกระดับขีดความสามารถของไทยให้สูงขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวยังประเทศไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ

การจัดประชุมกลุ่มย่อยในครั้งนี้ ที่ประชุมได้หารือและเสนอความคิดเห็นด้านการจัดการข้อมูลและแนวโน้มการจัดการนโยบายที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพและอนามัย รวมถึงข้อจำกัดและปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องในหลายแง่มุม ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาการจัดทำข้อมูลทรัพยากรด้านสาธารณสุขของไทย ที่เป็นดัชนีชี้วัดสำคัญในการบริหารจัดการระบบสาธารสุขเพื่อเพิ่มระดับสุขภาพและคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดี (Good health and wellbeing) ของประชาชน อาทิ การเพิ่มสัดส่วนของทรัพยากรสาธารณสุข (เช่น จำนวนแพทย์ และเตียงโรงพยาบาลต่อประชากร) การขยายพื้นที่การบริการสุขาภิบาลและน้ำสะอาดซึ่งเป็นสุขอนามัยขั้นพื้นฐานของความเป็นอยู่ที่ดีให้ครอบคลุมทั้งประเทศ และการลดจำนวนผู้ติดเชื้อมาลาเรียและเอชไอวี (HIV) ทั้งนี้ ที่ประชุมยังเห็นพ้องร่วมกันในการสร้างเครือข่ายการทำงานทั้งจากภาคภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาข้อมูลด้านสุขภาพและอนามัยให้สอดคล้องตรงตามมาตรฐานเดียวกันต่อไป

สามารถดาวน์โหลดเอกสารนำเสนอในรูปแบบไฟล์ PDF ทางด้านล่าง:

 

ข่าวและกิจกรรม

ปี 2023  |  ข่าวและกิจกรรม

การประชุมรับฟังความคิดเห็น “แนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก (ระยะที่ 2)

การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก (ระยะที่ 2) จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00-12:00 น. ณ ห้องประชุม YT-711 ชั้น 7 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โยธี กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.จิตติ มังคละศิริ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทสย.) กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม ในการประชุมดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากร 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  สถาบันพลาสติก และ บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด ในการบรรยายเรื่อง “การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลาสติกและประเด็นความท้าทาย ในมุมมองเชิงนโยบาย วิจัยและพัฒนา และเชิงพาณิชย์” โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแผน ววน. สาขาเศษฐกิจหมุนเวียนของกลุ่มพลาสติก 11 หน่วยงาน รวมกว่า 27 ท่าน อาทิ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ กรมควบคุมมลพิษ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ บริษัท เอสซีจี เคมิคอล จำกัด โฮลดิ้งส์ จํากัด สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สายงานอุตสาหกรรมและชุมชน และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

ปี 2023  |  ข่าวและกิจกรรม

งานประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร จัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2566 เวลา 09:00-12:00 น. ณ ห้องแมจิก 1 ชั้น G โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม ในการประชุมดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากร 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย กลุ่มมิตรผล บริษัท โอโว่ ฟู้ดเทค จำกัด และ มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) ในการบรรยายเรื่อง “การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนกับการพัฒนาด้านเกษตรและอาหาร” “การใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าไข่แบบครบวงจรด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน” และ “กอบกู้ อาหารส่วนเกิน – อาหารเหลือทิ้งเพื่อระบบอาหารที่ยั่งยืน” ตามลำดับ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแผน ววน. สาขาเศษฐกิจหมุนเวียนของกลุ่มเกษตรและอาหาร 37 แห่ง รวมกว่า 70 ท่าน อาทิ หน่วยบริหารและการจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และบริษัท ศูนย์วิทยาศาสตร์เบทาโกร จำกัด

ปี 2023  |  ข่าวและกิจกรรม

งานประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง

การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 18 เมษายน 2566 เวลา 09:00-13:00 น. ณ ห้องเจมินี่ ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.จิตติ มังคละศิริ Strategic Agenda Team – Circular Economy และ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สวทช.กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม ในการประชุมดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากร 2 หน่วยงาน ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ การเคหะแห่งชาติ ในการบรรยายเรื่อง “ภาพรวมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยปัจจุบันและอนาคต” และ“แนวทางงานวิจัยและดำเนินการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของการเคหะแห่งชาติ” ตามลำดับ ทั้งนี้วิทยากรจากทั้ง 2 หน่วยงาน ยังได้ร่วมเสวนาเรื่อง “โจทย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เพื่อมุ่งไปสู่การบูรณาการแผนและแนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมก่อสร้าง” ร่วมกับตัวแทนจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ บริษัท เอสซีจีซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด และ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแผน ววน. สาขาเศษฐกิจหมุนเวียนของกลุ่มก่อสร้างรวมกว่า 50 ท่าน อาทิ หน่วยงานบริหารและการจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สภาวิศวกร สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม SCG Cement-Building Materials บมจ.ผลิตภัณฑ์ตราเพชร และผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้าง