ด้วยสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้กำหนดจัดงานประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการวัดการหมุนเวียนของวัสดุในอุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศไทย ในวันจันทร์ที่ ๑๕ – วันพุธที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. ณ ห้องประชุมเจมินี่ และวีนัส ชั้น ๓ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกตัวแทนวัสดุก่อสร้างและพิจารณาตัวเลขการหมุนเวียนของวัสดุ (Material Circularity Indicator: MCI) ในอุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศไทย: กลุ่มวัสดุมุงหลังคาและฝ้าเพดาน กลุ่มท่อประปาและท่อร้อยสายไฟ กลุ่มประตูและหน้าต่าง (กระจก) และกลุ่มกระเบื้องไวนิล กลุ่มอิฐ กลุ่มสุขภัณฑ์ และกลุ่มกระเบื้องเซรามิก รวมทั้งหาค่ามาตรฐานกลางของผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการหมุนเวียนของวัสดุก่อสร้าง ซึ่งสามารถระบุประสิทธิภาพของวัตถุดิบทั้งหมดที่ใช้ที่ต้องมาจากส่วนประกอบที่นำกลับมาใช้ใหม่หรือวัสดุรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพการรีไซเคิลสูง รวมทั้งไม่มีของเสียเกิดขึ้นระหว่างการผลิต และเมื่อผลิตภัณฑ์หมดอายุจะต้องนำมาใช้ซ้ำหรือนำกลับมาใช้ใหม่ (Zero Waste) ซึ่งระดับการหมุนเวียนวัสดุของวัสดุก่อสร้างสามารถนำไปต่อยอดการคำนวณประเมินการหมุนเวียนของวัสดุในระดับการก่อสร้างอาคาร รวมทั้งเสนอแนะ แนวทางการใช้วัสดุก่อสร้างที่สนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน นำไปสู่การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) ซึ่งนับเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างเพื่อแสดงถึงการหมุนเวียนของวัสดุได้
งานประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) ดังกล่าว เกิดขึ้นภายใต้โครงการ “การพัฒนาระบบก่อสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน” ซึ่งในรับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้แทนจากส่วนราชการ สถาบันการศึกษา นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายด้านระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
รวมทั้งผู้แทนจากหน่วยงานและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม ๗ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวัสดุมุงหลังคา กลุ่มอิฐ กลุ่มฝ้าเพดาน กลุ่มวัสดุปูพื้น กลุ่มประตูและหน้าต่าง (กระจก) กลุ่มท่อ (PVC) และกลุ่มสุขภัณฑ์
ปัญหาการสูญเสียอาหารนับเป็นประเด็นที่ทุกประเทศล้วนให้ความสำคัญ เนื่องจากการสูญเสียอาหารมีผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารของคนในประเทศ รวมทั้งคุณภาพอาหาร และความปลอดภัย สาเหตุของการสูญเสียอาหารแตกต่างกันตามแต่ละบริบทของประเทศนั้น ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและสถานการณ์ท้องถิ่นของประเทศ เช่น การผลิตพืชทางเลือก โครงสร้างพื้นฐาน กำลังการผลิต การตลาดและช่องทางการจำหน่าย
จากการศึกษาวิจัย พบว่าปริมาณของเสียที่เหลือจากอาหารและภาคการเกษตรมีปริมาณที่สูงในขณะที่ทั่วโลกประสบปัญหาความขาดแคลนอาหารในหลายพื้นที่ ดังนั้นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) จึงมีเป้าประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการลดการสูญเสียอาหาร ตัวชี้วัดที่พิจารณาสำหรับเป้าประสงค์นี้ได้ถูกเสนอมาใช้ คือ ตัวชี้วัดที่ 12.3.1 ดัชนีการสูญเสียอาหารของโลก (Global Food Loss Index) โดยแบ่งเป็น 2 sub-indicator คือ 12.3.1.a Per capita food waste (kg/per year) และ 12.3.1.b Global food loss index
การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2565 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้องพระอินทร์ ชั้น 2 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.ลัษมณ อรรถาพิช ที่ปรึกษาผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม ในการประชุมดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากร 5 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สถาบันพลาสติก ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ บริษัท นิวอาไรวา จำกัด และบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) ในการบรรยายเรื่อง “การบูรณาการแผนและแนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลาสติก” โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแผน ววน. สาขาเศษฐกิจหมุนเวียนของกลุ่มพลาสติก รวมกว่า 50 ท่าน อาทิ สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี Unilever Thailand และ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อการจัดทำฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิต และการจัดทำค่าคาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon Footprint: CF) ของภาคการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนของไทย: ชีวมวลจากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย (กากอ้อย) และพลังงานจากแสงอาทิตย์ จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2565 เวลา 9.00-12.00 น. ประชุมผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกล (Video Conference) ด้วยโปรแกรม Cisco WebEx Meetings มีผู้เข้าร่วมประชุมจากบริษัทที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนดังกล่าว รวมกว่า 30 ท่าน จาก 20 บริษัท อาทิ บริษัทรวมผลไบโอเพาเวอร์ จำกัด บริษัทมิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ จำกัด บริษัทโรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น จำกัด บริษัทไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด และบริษัทอีเอ โซล่า ลำปาง จำกัด รวมถึงการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่ จัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 29 มิถุนายน 2565 เวลา 9.00-12.00 น. ประชุมผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกล (Video Conference) ด้วยโปรแกรม Cisco WebEx Meetings โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตา รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าวยังได้รับเกียรติจากวิทยากรจาก 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการบรรยายเรื่อง “การบูรณาการแผนและแนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่” อีกด้วย
Copyright © 2019 สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทย.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ