ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียน เกิดขึ้นภายใต้โครงการ “Carbon Footprint of Renewable Energy for ASEAN Countries” ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากกองทุนความร่วมมือญี่ปุ่น – อาเซียน (the Japan-ASEAN Integration Fund: JAIF) – ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership: AJCEP) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความรู้เชิงปฏิบัติ และระเบียบวิธีการเกี่ยวกับคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint: CF) และการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment: LCA) ที่ดีขึ้น ซึ่งแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 2025 (ASEAN Economic Community: AEC) มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดรวมถึงพลังงานหมุนเวียนผ่านเทคโนโลยีสีเขียว และเพื่อส่งเสริมการสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์สำหรับพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น โครงการนี้จะช่วยให้ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States: AMS) โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ในการพัฒนาฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Inventory: LCI) และมาตรการที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียน เกิดขึ้นภายใต้โครงการ “Carbon Footprint of Renewable Energy for ASEAN Countries” ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากกองทุนความร่วมมือญี่ปุ่น – อาเซียน (the Japan-ASEAN Integration Fund: JAIF) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความรู้เชิงปฏิบัติ และระเบียบวิธีการเกี่ยวกับคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint: CF) และการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment: LCA) ที่ดีขึ้น ซึ่งแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 2025 (ASEAN Economic Community: AEC) มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดรวมถึงพลังงานหมุนเวียนผ่านเทคโนโลยีสีเขียว และเพื่อส่งเสริมการสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์สำหรับพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น โครงการนี้จะช่วยให้ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States: AMS) โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ในการพัฒนาฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Inventory: LCI) และมาตรการที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Copyright © 2019 สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทย.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ