LookieWaste

LookieWaste: แอพพลิเคชั่นเพื่อตรวจสอบขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์

ที่มาหรือความสำคัญของการวิจัย

ปัญหาการสูญเสียอาหารนับเป็นประเด็นที่ทุกประเทศล้วนให้ความสำคัญ เนื่องจากการสูญเสียอาหารมีผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารของคนในประเทศ รวมทั้งคุณภาพอาหาร และความปลอดภัย ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดทั้งข้อมูลและระบบจัดเก็บข้อมูลการสูญเสียอาหารและขยะอาหารอย่างเป็นระบบ อีกทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับขยะอาหารเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งเข้าถึงข้อมูลรายบุคคล มีความยุ่งยาก สิ้นเปลืองทั้งแรงงานและงบประมาณ ดังนั้น สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยังยืน (TIIS) ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนวิจัยจาก UN environment จึงวิจัยและพัฒนาแอพพลิเคชั่น Lookie Waste เพื่อตรวจสอบขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์อาหารได้อย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักในการบริโภคอาหารผ่านแนวคิดตลอดวัฏจักรชีวิต อันจะนำไปสู่การลดปริมาณขยะอาหารต่อไป

คุณลักษณะพื้นฐาน

แอพพลิเคชั่น LookieWaste ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนของการแสดงผลและบันทึกข้อมูลของผู้ใช้งาน และส่วนระบบการจัดการและบันทึกผลข้อมูลสำหรับผู้พัฒนา

  1. ส่วนของการแสดงผลและบันทึกข้อมูลของผู้ใช้งาน

“LookieWaste” เป็นแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน รองรับระบบปฏิบัติ iOS และ Android หลังจากดาวน์โหลดใช้งาน โดยแสดงผลกระทบจากขยะอาหารที่เกิดขึ้น ทั้ง 3 ด้าน โดยประเมินผลตามนิยามของขยะอาหาร (Food waste) [FAO, 2011] ในหน้าแรกของการเปิดใช้งานแอพพลิเคชั่น (Welcome display) จะแสดงโลโก้ของหน่วยงานที่พัฒนาแอพพลิเคชั่น คือ National Metal and Materials Technology Center (MTEC) National Science and Technology Development Agency (NSTDA) และหน่วยงานผู้สนับสนุนทางการเงิน “The Resource Efficiency through Application of Life Cycle Thinking” (REAL) โครงการภายใต้ The European Union (UN) ก่อนเริ่มใช้งานผู้ใช้งานต้องเข้าระบบในครั้งแรกของการใช้งาน ประกอบด้วย 3 วิธี Device facebook และ Google+

การใช้งาน

การใช้งานแอพพลิเคชั่นประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เลือกเมนูอาหาร 2) เลือกบรรจุภัณฑ์อาหาร 3) การประมาณการณ์อาหารที่เหลือจากการบริโภค ส่วนสุดท้ายคือการแปรผลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมของขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์อาหาร โดย

ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม แสดงผลปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เกิดจากขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์อาหาร รวมถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์อาหาร การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์อาหารจะถูกตีความเป็นเปอร์เซ็นต์ ซึ่งคำนวณจากหลักแนวคิดการประเมินตลอด     วัฏจักรชีวิต ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัถตุดิบ จนถึงการจำกัดซาก แบ่งระดับความรุนแรงออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้

ระดับ 1 ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 0-20 % ที่เกิดจากขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์อาหาร รวมถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์อาหาร เป็นระดับความรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

ระดับ 2 ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 21-40 % ที่เกิดจากขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์อาหาร รวมถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์อาหาร

ระดับ 3 ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 41-60 % ที่เกิดจากขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์อาหาร รวมถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์อาหาร

ระดับ 4 ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 61-80 % ที่เกิดจากขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์อาหาร รวมถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์อาหาร

ระดับ 5 ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 81-100% ที่เกิดจากขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์อาหาร รวมถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์อาหาร เป็นระดับความรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด

ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ สื่อสารโดยจำนวนเงินที่สูญเสียไปจากขยะอาหารที่เกิดขึ้นในแต่ละมื้อ โดยพิจารณาจากราคากลางของแต่ละส่วนประกอบอาหารในแต่ละเมนู เพื่อให้ทราบถึงจำนวนเงินที่ต้องเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ของผู้ใช้งาน

ผลกระทบทางด้านสังคม สื่อสารโดยแสดงจำนวนเด็กที่หิวโหยจากการทิ้งขว้างอาหาร โดยแปลงปริมาณขยะอาหารในแต่ละเมนูเป็นปริมาณแคลอรี่ของอาหารที่เพียงพอสำหรับความต้องการพลังงานของเด็กในแต่ละวันซึ่งเด็กต้องการปริมาณแคลอรี่ 1,600 กิโลแคลอรีต่อคนต่อวัน

การแปรผลกระทบทั้ง 3 ด้านของแอพพลิเคชั่น LookieWaste

ผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น สามารถบันทึกพฤติกรรมการบริโภคอาหารในแต่ละวันได้ เพื่อติดตามผลสรุปในแต่ละช่วงเวลาของการใช้งาน ซึ่งแสดงผลการใช้งานเป็นระยะเวลา 30 วัน โดยแสดงทั้งรูปแบบกราฟของขยะอาหารที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และแสดงผลกระทบทั้งหมดที่เกิดจากการใช้งาน ซึ่งจะเห็นแนวโน้มของพฤติกรรมการบริโภคของผู้ใช้งานเอง จนเกิดความตระหนักแก่ผู้ใช้งาน นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ตลอดจนการเลือกบรรจุภัณฑ์อาหาร

ประวัติการใช้งานของแอพพลิเคชั่น LookieWaste

2. ส่วนระบบการจัดการและบันทึกข้อมูลสำหรับผู้พัฒนา

ระบบการจัดการสำหรับผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น ประกอบด้วยเมนูหลัก ดังนี้

  • Manage Item โดยแบ่งออกเป็น Menu, Process, Item, Packaging, Packaging Management และ Cooking ผู้พัฒนาสามารถปรับเปลี่ยน แก้ไข เพิ่มเติมเมนูอาหาร ส่วนประกอบอาหาร บรรจุภัณฑ์อาหาร การจัดการบรรจุภัณฑ์อาหาร และวิธีการทำอาหาร หรือปรับเปลี่ยน ค่า emission factor เพื่อประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และราคาวัตถุดิบของส่วนประกอบอาหาร สำหรับการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ รวมถึงปริมาณกิโลแคลอรี่ในแต่ละเมนู สำหรับการประเมินผลกระทบทางสังคม
  • Users ประกอบด้วยรายชื่อของผู้ใช้งานทั้งหมด โดยแสดงข้อมูลพื้นฐานทั่วไปตามที่ได้ลงทะเบียนไว้ในตอนเริ่มต้นใช้งานแอพพลิเคชั่น
  • Report โดยแบ่งออกเป็น Information User, User Waste และ User effect เป็นการรายงานผลของผู้เข้าใช้งานทั้งหมด ในรูปแบบกราฟ และเปอร์เซ็นต์ เพื่อนำผลไปวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ในงานวิจัยต่อไป

 

การนำไปใช้ / ถ่ายทอดเทคโนโลยี

  • ข้อมูลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม จากการบริโภคอาหารเพื่อประยุกต์ใช้ในการประเมิน carbon footprint โรงอาหารขององค์การสหประชาชาติประเทศไทย
  • แอพพลิเคชั่น Lookie Waste เพื่อสร้างความตระหนักในการลดขยะอาหารของประเทศไทย

กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย

  • องค์การสหประชาชาติด้านสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment)
  • Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO)
  • กระทรวงการต่างประเทศ
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติ
  • สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ:

นงนุช พูลสวัสดิ์
นักวิจัย
02 564 6500 ต่อ 4857
nongnucp@mtec.or.th