การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เสาหลักสุขภาพและอนามัย ภายใต้โครงการการศึกษาการจัดทำข้อมูลอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวตามบริบทของไทย

ปี 2021  |  ข่าวและกิจกรรม

การจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อนำเสนอผลการศึกษาการจัดทำข้อมูลอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวตามบริบทของไทย ในเสาหลักสุขภาพและอนามัย (Pillar: Health and Hygiene) จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2564 เวลา 09.30 – 12.00 น. ผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกล (Video conference) ด้วยโปรแกรม Cisco Webex Meetings มีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานสำคัญของไทย อาทิ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สภาหอการค้าไทยแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

การศึกษาดังกล่าวเป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการ “การศึกษาการจัดทำข้อมูลอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวตามบริบทของไทย” โดยสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทสย.) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาระเบียบวิธีการจัดทำข้อมูลและจัดอันดับดัชนีความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย ใน 3 เสาหลัก ประกอบด้วย สุขภาพและอนามัย ความมั่นคงปลอดภัย และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างเครือข่ายการทำงานของทั้งภาครัฐและเอกชนในด้านการบริหารและจัดการข้อมูล และหาแนวทางที่เป็นไปได้ในการยกระดับขีดความสามารถของไทยให้สูงขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวยังประเทศไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ

การจัดประชุมกลุ่มย่อยในครั้งนี้ ที่ประชุมได้หารือและเสนอความคิดเห็นด้านการจัดการข้อมูลและแนวโน้มการจัดการนโยบายที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพและอนามัย รวมถึงข้อจำกัดและปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องในหลายแง่มุม ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาการจัดทำข้อมูลทรัพยากรด้านสาธารณสุขของไทย ที่เป็นดัชนีชี้วัดสำคัญในการบริหารจัดการระบบสาธารสุขเพื่อเพิ่มระดับสุขภาพและคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดี (Good health and wellbeing) ของประชาชน อาทิ การเพิ่มสัดส่วนของทรัพยากรสาธารณสุข (เช่น จำนวนแพทย์ และเตียงโรงพยาบาลต่อประชากร) การขยายพื้นที่การบริการสุขาภิบาลและน้ำสะอาดซึ่งเป็นสุขอนามัยขั้นพื้นฐานของความเป็นอยู่ที่ดีให้ครอบคลุมทั้งประเทศ และการลดจำนวนผู้ติดเชื้อมาลาเรียและเอชไอวี (HIV) ทั้งนี้ ที่ประชุมยังเห็นพ้องร่วมกันในการสร้างเครือข่ายการทำงานทั้งจากภาคภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาข้อมูลด้านสุขภาพและอนามัยให้สอดคล้องตรงตามมาตรฐานเดียวกันต่อไป

สามารถดาวน์โหลดเอกสารนำเสนอในรูปแบบไฟล์ PDF ทางด้านล่าง:

 

ข่าวและกิจกรรม

ปี 2022  |  ข่าวและกิจกรรม

การประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) เพื่อรับฟังความคิดเห็นในประเด็นการพัฒนาฐานข้อมูลตัวชี้วัดความยั่งยืนและบัญชีสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้จัดงานประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ รวมไปถึงนักวิชาการ จำนวนทั้งสิ้น 15 หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการพัฒนาฐานข้อมูลตัวชี้วัดความยั่งยืนและบัญชีสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการ “การวิเคราะห์ฮอตสปอตโดยใช้แบบจำลองการวิเคราะห์ปัจจัยการผลิตและผลผลิตเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย” ในวันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2565 เวลา 9.00–13.00 น. ณ ห้อง มาร์ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร โดยมี รศ.ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ ประธานกรรมการบริหาร สถาบันฯ เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดงานการประชุม

ปี 2022  |  ข่าวและกิจกรรม

ประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการวัดการหมุนเวียนของวัสดุ ในอุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศไทย

ด้วยสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้กำหนดจัดงานประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการวัดการหมุนเวียนของวัสดุในอุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศไทย ในวันจันทร์ที่ ๑๕ – วันพุธที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. ณ ห้องประชุมเจมินี่ และวีนัส ชั้น ๓ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกตัวแทนวัสดุก่อสร้างและพิจารณาตัวเลขการหมุนเวียนของวัสดุ (Material Circularity Indicator: MCI) ในอุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศไทย: กลุ่มวัสดุมุงหลังคาและฝ้าเพดาน กลุ่มท่อประปาและท่อร้อยสายไฟ กลุ่มประตูและหน้าต่าง (กระจก) และกลุ่มกระเบื้องไวนิล กลุ่มอิฐ กลุ่มสุขภัณฑ์ และกลุ่มกระเบื้องเซรามิก รวมทั้งหาค่ามาตรฐานกลางของผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการหมุนเวียนของวัสดุก่อสร้าง ซึ่งสามารถระบุประสิทธิภาพของวัตถุดิบทั้งหมดที่ใช้ที่ต้องมาจากส่วนประกอบที่นำกลับมาใช้ใหม่หรือวัสดุรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพการรีไซเคิลสูง รวมทั้งไม่มีของเสียเกิดขึ้นระหว่างการผลิต และเมื่อผลิตภัณฑ์หมดอายุจะต้องนำมาใช้ซ้ำหรือนำกลับมาใช้ใหม่ (Zero Waste) ซึ่งระดับการหมุนเวียนวัสดุของวัสดุก่อสร้างสามารถนำไปต่อยอดการคำนวณประเมินการหมุนเวียนของวัสดุในระดับการก่อสร้างอาคาร รวมทั้งเสนอแนะ แนวทางการใช้วัสดุก่อสร้างที่สนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน นำไปสู่การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) ซึ่งนับเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างเพื่อแสดงถึงการหมุนเวียนของวัสดุได้

งานประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) ดังกล่าว เกิดขึ้นภายใต้โครงการ  “การพัฒนาระบบก่อสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน” ซึ่งในรับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้แทนจากส่วนราชการ สถาบันการศึกษา นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายด้านระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
รวมทั้งผู้แทนจากหน่วยงานและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม ๗ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวัสดุมุงหลังคา กลุ่มอิฐ กลุ่มฝ้าเพดาน กลุ่มวัสดุปูพื้น กลุ่มประตูและหน้าต่าง (กระจก) กลุ่มท่อ (PVC) และกลุ่มสุขภัณฑ์

ปี 2022  |  ข่าวและกิจกรรม

งานประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก ภายใต้โครงการ “การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน”

การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2565 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้องพระอินทร์ ชั้น 2 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.ลัษมณ อรรถาพิช ที่ปรึกษาผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม ในการประชุมดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากร 5 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สถาบันพลาสติก ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ บริษัท นิวอาไรวา จำกัด และบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) ในการบรรยายเรื่อง “การบูรณาการแผนและแนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลาสติก” โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแผน ววน. สาขาเศษฐกิจหมุนเวียนของกลุ่มพลาสติก รวมกว่า 50 ท่าน อาทิ สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี Unilever Thailand และ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)