เป้าประสงค์ที่ 12.4:

บรรลุเรื่องการจัดการสารเคมี และของเสียทุกชนิด ตลอดวงจรชีวิตของสิ่งเหล่านั้นด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศที่ตกลงกันแล้วลดการปลดปล่อยสิ่งเหล่านั้น
ออกสู่อากาศ น้ำ และดินอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อจะลดผลกระทบทางลบต่อสุขภาพ
ของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุดภายในปี พ.ศ. 2563

ตัวชี้วัดที่ 12.4.1.
จำนวนภาคีสมาชิกข้อตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมเรื่องของเสียที่เป็นอันตรายและสารเคมีอื่นๆ ที่บรรลุวัตถุประสงค์ของพันธกรณี
และข้อผูกพันในการถ่ายทอดข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในแต่ละข้อตกลงที่เกี่ยวข้อง

 

Tier Classification:                                Tier I
หน่วยงานที่รับผิดชอบ:                            กรมควบคุมมลพิษ
สถานะข้อมูลของประเทศไทย:                  มีข้อมูลครบถ้วนสามารถรายงานผลของตัวชี้วัดได้
ปีที่รายงาน:                                               ยังไม่มีการรายงาน

ผลการรายงานตัวชี้วัด:

จากการทบทวนข้อตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับการจัดการของเสียที่เป็นอันตรายและสารเคมีอื่นๆ ตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศมีอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องได้ ได้แก่ 1) อนุสัญญาบาเซล  2) อนุสัญญาสต็อกโฮล์ม 3) อนุสัญญารอตเตอร์ดัม  4) พิธีสารมอนทรีออล  และ 5) อนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท โดยประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีสมาชิกเข้าร่วมข้อตกลงจาก 4 อนุสัญญาและ 1 พิธีสารแล้วจึงมีความพร้อมในการรายงานผลของตัวชี้วัด ทั้งนี้ประเทศไทยมีกรมควบคุมมลพิษ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก (Focal Point) ในอนุสัญญาบาเซล อนุสัญญาสต็อกโฮล์ม และอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท สำหรับอนุสัญญารอตเตอร์ดัมมีหน่วยงานผู้มีอำนาจของรัฐ (DNAs) ในการกำกับดูแลคือ กรมวิชาการเกษตร กรมควบคุมมลพิษ และกรมโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้พิธีสารมอนทรีออลประเทศไทยมีกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก (Focal Point) ในปี 2020 จากข้อมูลใน Metadata ที่รายงานโดยสำนักงานสถิติแห่งสหประชาชาติ (UNSD) พบว่าประเทศไทยได้รายงานผลทั้ง
4 อนุสัญญาและ 1 พิธีสารตามตัวชี้วัดเรียบร้อยแล้ว

 

ตัวชี้วัดที่ 12.4.2:
สัดส่วนของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นต่อหัวและสัดส่วนของเสียที่ได้รับ การบำบัด จำแนกตามประเภทการบำบัด

 

Tier Classification:                                Tier II
หน่วยงานที่รับผิดชอบ:                            กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม และกรมอนามัย
สถานะข้อมูลของประเทศไทย:                  ไม่มีข้อมูลที่ครอบคลุมทุกซ่วงโซ่อุปทานอาหาร (Food supply chain)
ปีที่รายงาน:                                               ยังไม่มีการรายงาน

ผลการรายงานตัวชี้วัด:

เนื่องจากตัวชี้วัดนี้ประกอบไปด้วยตัวชี้วัดย่อย คือ 1) สัดส่วนของเสียอันตรายต่อหัวประชากรและต่อไร่ (ตัน) และ 2) สัดส่วนของเสียอันตรายที่ได้รับการบำบัดแยกตามประเภทการบำบัด (การรีไซเคิล การเผา (เพื่อใช้เป็นพลังงาน/เพื่อไม่ใช้เป็นพลังงาน) ฝังกลบ และอื่นๆ)  โดยจากการรวบรวมข้อมูลของประเทศไทยพบว่ามีข้อจำกัดในด้านข้อมูลในการจำแนกของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นแยกตามประเภท (ISIC code) หากไม่มีการเก็บข้อมูลตามการจำแนกประเภททำให้ยากต่อการรายงานผลตามวิธีการของ Metadata เนื่องจากปริมาณของเสียอันตรายเป็นข้อมูลจากการรายงานปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในประเทศและสัดส่วนของเสียอันตรายที่ได้รับการบำบัดแยกตามประเภทการบำบัดซึ่งมาจากรายงานเป็นประจำปีของกรมควบคุมมลพิษซึ่งไม่สามารถทราบปริมาณขยะอันตรายที่กำจัดในแต่ละวิธีการได้แน่ชัด และข้อมูลบางส่วนเป็นการประมาณ

เอกสารประกอบเพิ่มเติม:

SDG Indicators Metadata repository. Link to https://unstats.un.org/sdgs/metadata/?Text=&Goal=12&Target=12.4
Sustainable Development Goals. Link to https://unstats.un.org/sdgs/indicators/database

หน่วยงานรับผิดชอบ:

รับผิดชอบ
เป้าประสงค์ที่  12.4     รับผิดชอบตัวชี้วัดที่ 12.4.2             รับผิดชอบตัวชี้วัดที่ 12.4.2                         รับผิดชอบตัวชี้วัดที่ 12.4.2

 


ผู้เรียบเรียง:

ประกายธรรม สุขสถิตย์
วิศวกร
02 564 6500 ต่อ 4773
prakayts@mtec.or.th