Irasshaimase! (Welcome to the store) – เสียงดังฟังชัดคือต้อนรับที่เราคุ้นหู หากได้เข้าไปทานร้านอาหารญี่ปุ่น ศิลปะการปั้นซูซิแต่ละคำของเชฟนั้นเป็นท่วงท่าที่มีพลัง และแฝงไปด้วยการสื่อสารทางกายที่น่าชม ลูกค้าหลายท่านหลงใหลกับวัฒนธรรมการทานซูซิ ที่ใช้ปลาคุณภาพพรีเมียมจากธรรมชาติ การทำวัตถุดิบอย่างพิถีพิถัน “ซูซิ” คือ สัญลักษณ์ที่สำคัญของวัฒนธรรมทางอาหารญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย ด้วยเสน่ห์ที่เหลือล้นของซูซิ ทำให้ธุรกิจอาหารญี่ปุ่นเติบโตอย่างก้าวกระโดดในเกือบทุกประเทศ
อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันเชฟซูชิที่มีชื่อเสียงหลายคนเริ่มแสดงความกังวล และรู้สึกว่ากำลังเผชิญกับปัญหาครั้งสำคัญ ที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยศาสตร์ของการทำอาหาร ปัญหาภาวะโลกร้อนและขยะทางทะเลเป็นภัยคุกคามที่สำคัญ เชฟต้องการมอบอาหารที่ดีที่สุดแด่ลูกค้าคนสำคัญ แต่กลับพบว่าคุณภาพของอาหารทะเลนั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัดในรอบทศวรรษที่ผ่านมา
การเพิ่มขึ้นของประชากร ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลโดยตรงต่อปริมาณและคุณภาพสินค้าทางทะเล อาทิ ปลาทูน่าขนาดใหญ่จากธรรมชาติหายากขึ้นทุกวัน ความหลากหลายของวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหารมีน้อยลง ฟาร์มสาหร่ายที่มีชื่อเสียงในประเทศญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง กล่าวว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นและคุณภาพน้ำทะเลมีแนวโน้มให้ผลิตภัณฑ์ลดลง เนื่องด้วยสภาวะที่ไม่เหมาะสมที่เปลี่ยนแปลงไปของท้องทะเล
หลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปส่งผลกระทบต่อสินค้าจากธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งการเพาะเลี้ยง หลายสื่อกล่าวถึงภาวะโลกร้อนและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเปลี่ยนรูปแบบของซูซิไปตลอดกาล เชฟหลายคนพูดเรื่องนี้ออกสื่อที่หลากหลาย รวมไปถึงพูดคุยกับลูกค้าประจำ เพื่อให้ช่วยกันแก้ปัญหา (หรือ Save Sushi !!!)
คำถามที่สำคัญ คือ ทำไมสื่อให้ความสำคัญที่ซูซิ?
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ โดยดาวน์โหลดเอกสารทางด้านล่าง:
เอ็มเทค จับมือ 3 สถาบันการศึกษา มทร. ธัญบุรี จุฬาฯ และ มจธ. ร่วมวิจัยพัฒนาระบบก่อสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
(วันที่ 6 ธันวาคม 2565) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ บริษัท แอธเลติก โซลูชั่น จำกัด ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดผลสำเร็จงานวิจัยพัฒนาระบบก่อสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. กล่าวว่า การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษา (Public Hearing) ในหัวข้อในวันนี้ เป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้ โครงการ “การพัฒนาระบบก่อสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน”
งานประชุมการนำเสนอผลการดำเนินงานและแนวทางการปรับปรุงการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) ระยะที่ 2 ของ รฟม. ภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยของการหมุนเวียนของระบบขนส่ง (Circular mobility system) จัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม 2566 เวลา 13.30 – 16.00 น. ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 9 อาคาร1 สำหนักงานใหญ่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โดยการนำเสนอผลการดำเนินงานและแนวทางการปรับปรุงการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและสื่อสารผลการดำเนินงานการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) ระยะที่ 2 ของ รฟม. ซึ่งประกอบด้วย การเก็บและรวบรวมข้อมูล แนวทางการกำหนดและคำนวณตัวชี้วัด Eco-Efficiency ปีฐาน รวมทั้งการกำหนดค่าคาดการณ์การปรับปรุงที่สอดคล้องกับเกณฑ์ในการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ระยะที่ 2
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 ดร.กฤษดา ประภากร รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. ร่วมกับ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ที่ได้การรับรองฉลากสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมกันพัฒนาการประเมินและประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในข้อกำหนดฉลากสิ่งแวดล้อม รวมถึงสนับสนุนข้อมูลและทรัพยากรในการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาร่วมกันในรูปแบบต่าง ๆ สามารถเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และข้อมูลทางวิชาการ นำไปสู่การพัฒนาและประยุกต์ใช้ค่าผลกระทบ ค่าการประเมิน รวมทั้งค่าตัวชี้วัด ในการพัฒนาแนวทางการกำหนดเกณฑ์ฉลากสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศ