การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 18 เมษายน 2566 เวลา 09:00-13:00 น. ณ ห้องเจมินี่ ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.จิตติ มังคละศิริ Strategic Agenda Team – Circular Economy และ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สวทช.กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม ในการประชุมดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากร 2 หน่วยงาน ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ การเคหะแห่งชาติ ในการบรรยายเรื่อง “ภาพรวมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยปัจจุบันและอนาคต” และ“แนวทางงานวิจัยและดำเนินการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของการเคหะแห่งชาติ” ตามลำดับ ทั้งนี้วิทยากรจากทั้ง 2 หน่วยงาน ยังได้ร่วมเสวนาเรื่อง “โจทย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เพื่อมุ่งไปสู่การบูรณาการแผนและแนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมก่อสร้าง” ร่วมกับตัวแทนจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ บริษัท เอสซีจีซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด และ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแผน ววน. สาขาเศษฐกิจหมุนเวียนของกลุ่มก่อสร้างรวมกว่า 50 ท่าน อาทิ หน่วยงานบริหารและการจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สภาวิศวกร สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม SCG Cement-Building Materials บมจ.ผลิตภัณฑ์ตราเพชร และผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้าง
สำหรับกิจกรรมดังกล่าวเป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการ “การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน ระยะที่ 2” สนับสนุนทุนวิจัยโดย สกสว.ดำเนินการโดยสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทสย.) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเสนอร่างโจทย์วิจัยของโครงการและรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อให้ได้แนวทางการดำเนินการวิจัยและผลผลิตของโครงการสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ทั้งภาคการผลิตและบริโภคของกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง
การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมให้ความคิดเห็นต่อหัวข้อโจทย์วิจัยซึ่งพิจารณาประเด็นวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ 1) ระยะการได้มาซึ่งวัตถุดิบก่อสร้าง 2) ระยะการก่อสร้าง 3) ระยะการใช้งานสิ่งก่อสร้าง และ 4) ระยะหลังการใช้งานและการนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่ ทั้งนี้ในที่ประชุมได้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม อาทิ ปัญหาจากกฎระเบียบส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนมากกว่าปัญหาจากเทคโนโลยี ทั้งนี้ภาครัฐควรให้การสนับสนุนการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับการผลักดันการใช้ประโยชน์เชิงพานิชย์ตลอด Supply chain นอกจากนี้ การสร้างศูนย์ทดสอบวัสดุ ควรมีหน่วยงานที่ดูแลโดยตรง ซึ่งความคิดเห็นที่ได้จากการประชุมเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาโจทย์วิจัยและดำเนินโครงการแบบบูรณาการต่อไป
สามารถสแกน QR Code เพื่อดาวน์โหลดเอกสารนำเสนอในรูปแบบไฟล์ PDF ทางด้านล่าง:
เอ็มเทค จับมือ 3 สถาบันการศึกษา มทร. ธัญบุรี จุฬาฯ และ มจธ. ร่วมวิจัยพัฒนาระบบก่อสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
(วันที่ 6 ธันวาคม 2565) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ บริษัท แอธเลติก โซลูชั่น จำกัด ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดผลสำเร็จงานวิจัยพัฒนาระบบก่อสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. กล่าวว่า การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษา (Public Hearing) ในหัวข้อในวันนี้ เป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้ โครงการ “การพัฒนาระบบก่อสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน”
งานประชุมการนำเสนอผลการดำเนินงานและแนวทางการปรับปรุงการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) ระยะที่ 2 ของ รฟม. ภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยของการหมุนเวียนของระบบขนส่ง (Circular mobility system) จัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม 2566 เวลา 13.30 – 16.00 น. ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 9 อาคาร1 สำหนักงานใหญ่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โดยการนำเสนอผลการดำเนินงานและแนวทางการปรับปรุงการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและสื่อสารผลการดำเนินงานการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) ระยะที่ 2 ของ รฟม. ซึ่งประกอบด้วย การเก็บและรวบรวมข้อมูล แนวทางการกำหนดและคำนวณตัวชี้วัด Eco-Efficiency ปีฐาน รวมทั้งการกำหนดค่าคาดการณ์การปรับปรุงที่สอดคล้องกับเกณฑ์ในการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ระยะที่ 2
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 ดร.กฤษดา ประภากร รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. ร่วมกับ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ที่ได้การรับรองฉลากสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมกันพัฒนาการประเมินและประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในข้อกำหนดฉลากสิ่งแวดล้อม รวมถึงสนับสนุนข้อมูลและทรัพยากรในการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาร่วมกันในรูปแบบต่าง ๆ สามารถเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และข้อมูลทางวิชาการ นำไปสู่การพัฒนาและประยุกต์ใช้ค่าผลกระทบ ค่าการประเมิน รวมทั้งค่าตัวชี้วัด ในการพัฒนาแนวทางการกำหนดเกณฑ์ฉลากสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศ