การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อการจัดทำฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิต และการจัดทำค่าคาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon Footprint: CF) ของภาคการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนของไทย: ชีวมวลจากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย (กากอ้อย) และพลังงานจากแสงอาทิตย์ จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2565 เวลา 9.00-12.00 น. ประชุมผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกล (Video Conference) ด้วยโปรแกรม Cisco WebEx Meetings มีผู้เข้าร่วมประชุมจากบริษัทที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนดังกล่าว รวมกว่า 30 ท่าน จาก 20 บริษัท อาทิ บริษัทรวมผลไบโอเพาเวอร์ จำกัด บริษัทมิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ จำกัด บริษัทโรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น จำกัด บริษัทไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด และบริษัทอีเอ โซล่า ลำปาง จำกัด รวมถึงการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
สำหรับกิจกรรมดังกล่าวเป็นการดำเนินการภายใต้โครงการ “Carbon Footprint of Renewable Energy for ASEAN Countries” ซึ่งได้รับการสนับสนุนโครงการจาก Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) และ Japan-ASEAN Integration Fund (JAIF) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Inventory: LCI) และค่าคาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon Footprint: CF) ของภาคการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในกลุ่มชีวมวลจากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย (กากอ้อย) และพลังงานจากแสงอาทิตย์ ทั้งนี้ ฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตและค่าคาร์บอนฟุตพรินต์ของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม และการกำหนดนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนต่อไป
โดยการจัดประชุมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกิจกรรมของโครงการและเชิญชวนบริษัทฯ เข้าร่วมโครงการโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Inventory: LCI) และค่าคาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon Footprint: CF) ของภาคการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในกลุ่มชีวมวลจากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย (กากอ้อย) และพลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งบริษัทที่เข้าร่วมรับฟังได้สอบถามเกี่ยวกับขอบเขตและระยะเวลาของการเก็บข้อมูล ตลอดจนการพัฒนาเพื่อต่อยอดการใช้ประโยชน์จากการจัดทำฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สามารถสแกน QR Code เพื่อดาวน์โหลดเอกสารนำเสนอในรูปแบบไฟล์ PDF ทางด้านล่าง:
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การคาดการณ์ค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) และการคาดการณ์ค่า Factor เป้าหมายในขอบเขตการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)” ภายใต้โครงการ “การประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) เพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ”
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization) และการคำนวณค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)” ภายใต้โครงการ “การประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) เพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ”
การประชุมกลุ่มย่อยการประเมินการหมุนเวียนทรัพยากรของกลุ่มเกษตรและอาหาร ภายใต้โครงการ “การพัฒนาชุดข้อมูลและค่าการหมุนเวียนของกลุ่มอาหารและที่อยู่อาศัย เพื่อบูรณาการแพลตฟอร์มวิถีชีวิตตามแนวเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศไทย”
Copyright © 2019 สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทย.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ