การจัดสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นภายใต้โครงการ “การจัดทำบัญชีต้นทุนด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (SEEA) ร่วมกับบัญชีประชาชาติด้านการท่องเที่ยว (TSA) ในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันออก” ซึ่งได้จัดขึ้นในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09.00-13.00 น. ณ ห้องประชุมเทียนกิ่ง ชั้น 3 โรงแรมเฮลท์แลนด์รีสอร์ท แอนด์ สปา พัทยา
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำบัญชีต้นทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บัญชีน้ำ พลังงาน ขยะ และก๊าซเรือนกระจก) พร้อมทั้งประเมินผลกระทบ และ Green GDP ของภาคการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันออกด้วยกรอบแนวคิด SEEA-TSA รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดเก็บข้อมูล เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันออก
การจัดสัมมนาครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมจากสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานเจ้าของข้อมูลด้านการผลิตพลังงาน น้ำประปา และหน่วยงานที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล อีกทั้งยังมีหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมของภาคตะวันออกเข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาทั้งสิ้น 70 คน จากการสัมมนามีผู้ให้ความคิดเห็นด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของภาคการท่องเที่ยวอย่างหลากหลาย อาทิ การจัดการขยะในพื้นที่ท่องเที่ยว การจัดสรรน้ำให้เพียงพอต่อการใช้งานในด้านต่าง ๆ
เอ็มเทค จับมือ 3 สถาบันการศึกษา มทร. ธัญบุรี จุฬาฯ และ มจธ. ร่วมวิจัยพัฒนาระบบก่อสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
(วันที่ 6 ธันวาคม 2565) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ บริษัท แอธเลติก โซลูชั่น จำกัด ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดผลสำเร็จงานวิจัยพัฒนาระบบก่อสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. กล่าวว่า การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษา (Public Hearing) ในหัวข้อในวันนี้ เป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้ โครงการ “การพัฒนาระบบก่อสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน”
งานประชุมการนำเสนอผลการดำเนินงานและแนวทางการปรับปรุงการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) ระยะที่ 2 ของ รฟม. ภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยของการหมุนเวียนของระบบขนส่ง (Circular mobility system) จัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม 2566 เวลา 13.30 – 16.00 น. ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 9 อาคาร1 สำหนักงานใหญ่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โดยการนำเสนอผลการดำเนินงานและแนวทางการปรับปรุงการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและสื่อสารผลการดำเนินงานการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) ระยะที่ 2 ของ รฟม. ซึ่งประกอบด้วย การเก็บและรวบรวมข้อมูล แนวทางการกำหนดและคำนวณตัวชี้วัด Eco-Efficiency ปีฐาน รวมทั้งการกำหนดค่าคาดการณ์การปรับปรุงที่สอดคล้องกับเกณฑ์ในการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ระยะที่ 2
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 ดร.กฤษดา ประภากร รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. ร่วมกับ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ที่ได้การรับรองฉลากสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมกันพัฒนาการประเมินและประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในข้อกำหนดฉลากสิ่งแวดล้อม รวมถึงสนับสนุนข้อมูลและทรัพยากรในการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาร่วมกันในรูปแบบต่าง ๆ สามารถเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และข้อมูลทางวิชาการ นำไปสู่การพัฒนาและประยุกต์ใช้ค่าผลกระทบ ค่าการประเมิน รวมทั้งค่าตัวชี้วัด ในการพัฒนาแนวทางการกำหนดเกณฑ์ฉลากสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศ