สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้จัดการประชุมร่วมกับ Prof. Norihiro Itsubo ซึ่งเป็นคณะบดีและอาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัย Tokyo City University ในวันวันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 7.00 – 8.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกล (Video conference) ด้วยโปรแกรม Cisco Webex Meetings เพื่อหารือและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาวิธีการประเมินและตัวชี้วัดที่เหมาะสมสำหรับวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม
การศึกษาดังกล่าวเป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการ “การพัฒนาวิธีการประเมินและตัวชี้วัดที่เหมาะสมสำหรับวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมในบริบทของประเทศไทย” ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาแบบจำลองการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ที่เหมาะสมกับประเทศไทย พร้อมด้วยการพัฒนาค่า Damage Factor และค่า Weighting Factor แยกรายภูมิภาคของประเทศไทย โดยมี ดร.เสกสรร พาป้อง เป็นหัวหน้าโครงการ
คณะผู้วิจัย ได้นำเสนอผลการศึกษาในประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ (1) การพัฒนาค่า Weighting Factor สำหรับประเทศไทยโดยใช้เทคนิค Conjoint analysis (2) การพัฒนาค่า Damage Factor ในกลุ่มผลกระทบ Air Pollution (PM2.5) และ (3) การพัฒนาค่า Damage Factor ในกลุ่มผลกระทบ Land Use ซึ่ง Prof. Norihiro Itsubo ได้ให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงผลการศึกษาและข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการพัฒนาวิธีการประเมินและตัวชี้วัดที่เหมาะสมสำหรับวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานในลำดับถัดไป
เอ็มเทค จับมือ 3 สถาบันการศึกษา มทร. ธัญบุรี จุฬาฯ และ มจธ. ร่วมวิจัยพัฒนาระบบก่อสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
(วันที่ 6 ธันวาคม 2565) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ บริษัท แอธเลติก โซลูชั่น จำกัด ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดผลสำเร็จงานวิจัยพัฒนาระบบก่อสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. กล่าวว่า การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษา (Public Hearing) ในหัวข้อในวันนี้ เป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้ โครงการ “การพัฒนาระบบก่อสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน”
งานประชุมการนำเสนอผลการดำเนินงานและแนวทางการปรับปรุงการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) ระยะที่ 2 ของ รฟม. ภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยของการหมุนเวียนของระบบขนส่ง (Circular mobility system) จัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม 2566 เวลา 13.30 – 16.00 น. ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 9 อาคาร1 สำหนักงานใหญ่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โดยการนำเสนอผลการดำเนินงานและแนวทางการปรับปรุงการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและสื่อสารผลการดำเนินงานการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) ระยะที่ 2 ของ รฟม. ซึ่งประกอบด้วย การเก็บและรวบรวมข้อมูล แนวทางการกำหนดและคำนวณตัวชี้วัด Eco-Efficiency ปีฐาน รวมทั้งการกำหนดค่าคาดการณ์การปรับปรุงที่สอดคล้องกับเกณฑ์ในการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ระยะที่ 2
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 ดร.กฤษดา ประภากร รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. ร่วมกับ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ที่ได้การรับรองฉลากสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมกันพัฒนาการประเมินและประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในข้อกำหนดฉลากสิ่งแวดล้อม รวมถึงสนับสนุนข้อมูลและทรัพยากรในการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาร่วมกันในรูปแบบต่าง ๆ สามารถเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และข้อมูลทางวิชาการ นำไปสู่การพัฒนาและประยุกต์ใช้ค่าผลกระทบ ค่าการประเมิน รวมทั้งค่าตัวชี้วัด ในการพัฒนาแนวทางการกำหนดเกณฑ์ฉลากสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศ