ความสำคัญของความมั่นคงปลอดภัยที่มีต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย

ปี 2021  |  บทความทั่วไป

ปัจจุบัน การท่องเที่ยวนับว่ามีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโลกและของหลายประเทศ ดังจะเห็นว่าการท่องเที่ยวนั้นเกี่ยวโยงกับอุตสาหกรรมหลากหลายสาขา เช่น อุตสาหกรรมการโรงแรมและที่พัก อุตสาหกรรมอาหารและภัตตาคาร อุตสาหกรรมการขนส่ง เป็นต้น อีกทั้งยังมีส่วนกระตุ้นการลงทุนให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทยหันมาสนใจกับการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ

อย่างไรก็ดี จากรายงาน “The Travel and Tourism Competitiveness Report 2019” ที่จัดทำโดยสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum: WEF) ที่ทำการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของ 140 ประเทศทั่วโลก พบว่า ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 31 โดยประเด็นเรื่องความมั่นคงปลอดภัย (Safety and Security) เป็นหนึ่งในอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของไทยที่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยจากทั่วโลก

 

สำหรับรายละเอียดในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน และมุมมองของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีต่อประเทศไทยจะเป็นอย่างไร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้โดยดาวน์โหลดเอกสารทางด้านล่าง:

บทความทั่วไป

ปี 2022  |  บทความทั่วไป

การสูญเสียอาหาร (Food Loss) คืออะไร

ปัญหาการสูญเสียอาหารนับเป็นประเด็นที่ทุกประเทศล้วนให้ความสำคัญ เนื่องจากการสูญเสียอาหารมีผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารของคนในประเทศ รวมทั้งคุณภาพอาหาร และความปลอดภัย สาเหตุของการสูญเสียอาหารแตกต่างกันตามแต่ละบริบทของประเทศนั้น ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและสถานการณ์ท้องถิ่นของประเทศ เช่น การผลิตพืชทางเลือก โครงสร้างพื้นฐาน กำลังการผลิต การตลาดและช่องทางการจำหน่าย

จากการศึกษาวิจัย พบว่าปริมาณของเสียที่เหลือจากอาหารและภาคการเกษตรมีปริมาณที่สูงในขณะที่ทั่วโลกประสบปัญหาความขาดแคลนอาหารในหลายพื้นที่ ดังนั้นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) จึงมีเป้าประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการลดการสูญเสียอาหาร ตัวชี้วัดที่พิจารณาสำหรับเป้าประสงค์นี้ได้ถูกเสนอมาใช้ คือ ตัวชี้วัดที่ 12.3.1 ดัชนีการสูญเสียอาหารของโลก (Global Food Loss Index) โดยแบ่งเป็น 2 sub-indicator คือ 12.3.1.a Per capita food waste (kg/per year) และ 12.3.1.b Global food loss index

ปี 2021  |  บทความทั่วไป

ประเทศไทยอยู่ตรงไหนในเวทีความยั่งยืนโลก

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลกตื่นตัวและมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและมุ่งเป้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการที่สหประชาชาติได้ประกาศเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (UN’s 2015 Sustainable Development Goals; SDGs) เพื่อให้นานาประเทศมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตาม SDGs ไปด้วยกันนั้น นอกจากการหารือกันเรื่องตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับความยั่งยืนในแต่ละมิติแล้ว รูปแบบการรายงานและวิธีติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการตามเป้าหมายของ SDGs ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ

ปี 2021  |  บทความทั่วไป

PM2.5 ภัยคุกคามสุขภาพ และแนวทางแก้ไขปัญหา

ปัจจุบันประเทศไทยเผชิญปัญหามลภาวะทางอากาศที่รุนแรงมากขึ้นทุกปี  โดยเฉพาะในเมืองหลวงและพื้นที่หัวเมืองภาคเหนือ เราจะได้ยินข่าวสารภัยผลกระทบสุขภาพจากมลภาวะทางอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝุ่น PM2.5 เป็นประจำทุกปี ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและภาควิชาการมีความพยายามศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ถึงแม้ว่าหน่วยงานภาครัฐได้ประกาศเป็นวาระแห่งชาติก็ตาม แต่ปัญหาก็ไม่ได้บรรเทาลง จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการหาแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาในระยะยาว