คู่มือ การประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของรัฐวิสาหกิจไทย

ปี 2020  |  คู่มือ/แนวทางปฏิบัติ

คู่มือเล่มนี้จัดทำขึ้นสำหรับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของไทย เพื่อใช้เป็นแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินงานเพื่อประเมินและเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจขององค์กร ด้วยความร่วมมือระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และคณะกรรมการเทคนิคด้านประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ

ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ เป็นแนวคิดที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินธุรกิจ ด้วยการสร้างความสมดุลระหว่างความเจริญก้าวหน้าทางธุรกิจ (การเพิ่มผลกำไรให้กับองค์กร) และการรักษาระบบนิเวศโดยการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน ด้วยแนวคิดดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) จึงนำเครื่องมือที่เรียกว่า การประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency: EE) มาเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำพารัฐวิสาหกิจไทยไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยแนวคิดหลักสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ (1) การเพิ่มคุณค่า (value) ของผลิตภัณฑ์หรือบริการ (2) ลดการใช้ทรัพยากร (resource) และ (3) ลดการปล่อยมลสาร (emission) หรือผลกระทบสู่สิ่งแวดล้อม

รายละเอียดเพิ่มเติม:

คู่มือ/แนวทางปฏิบัติ

ปี 2022  |  คู่มือ/แนวทางปฏิบัติ

คู่มือ การประเมินความยั่งยืนขององค์กรตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร

การประเมินความยั่งยืนขององค์กรตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับประเมินกระบวนการดำเนินงาน และผลของการดำเนินงานในเรื่องความยั่งยืนขององค์กร ด้วยการน้อมนำแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในองค์กร โดยการแจกแจงเป็นประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างเป็นตัวชี้วัดเพื่อตรวจวัดระดับความก้าวหน้าของกระบวนการ และผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับหลักการและเงื่อนไขแต่ละหมวดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความยั่งยืน

ปี 2021  |  คู่มือ/แนวทางปฏิบัติ

คู่มือ วิธีการประเมินปริมาณขยะอาหารและแนวทางการลดปริมาณขยะอาหาร

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ของคู่มือ วิธีการประเมินปริมาณขยะอาหารและแนวทางการลดปริมาณขยะอาหาร ในรูปแบบ       e-book    ได้ที่นี่

ปี 2013  |  คู่มือ/แนวทางปฏิบัติ

เราจะเลือกใช้บัญชีรายการวัฏจักรชีวิตอย่างไรให้ถูกต้อง

การจัดทำบัญชีรายการหรือ Life Cycle Inventory (LCI) เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการทำ LCA โดยขั้นตอนนี้จะมีการรวบรวมวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต มลสารที่เกิดจากการผลิต รวมทั้งขยะที่ปล่อยออกจากแต่ละกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ การรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ภายในองค์กรหรือในบริษัทเองอาจไม่ยุ่งยากมากนัก แต่หากเป็นการรวบรวมข้อมูลจาก Supply Chain ที่เป็นผู้ส่งวัตถุดิบให้กับแก่องค์กรอาจไม่ง่ายนัก