ภารกิจงานของ TIIS

ข้อมูลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

From MDGs to SDGs

เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDGs) จะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2558 UN จึงได้ริเริ่มกระบวนการหารือเพื่อกำหนดวาระการพัฒนาภายหลังปี พ.ศ. 2558 (post-2015 development agenda) ตามกระบวนทัศน์ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยประเด็นสำคัญของวาระการพัฒนาภายหลังปี พ.ศ. 2558 คือ การจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs)

 

การดำเนินงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีหลากหลายดังนี้

ตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Index & Dashboard)

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นชุดเป้าหมายการพัฒนาที่มีความกว้างขวางและครอบคลุมแทบทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายที่จะบรรลุให้ได้ภายในปี 2573 เพื่อให้ทราบถึงสถานะการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับโลกและระดับนานนาชาติตัวชี้วัด (Indicators) จึงเครื่องบ่งชี้สถานะเหล่านั้น ซึ่ง SDGs นี้ประกอบด้วย 17 เป้าหมาย 169 เป้าประสงค์ (Targets) ถูกกำหนดกรอบและพัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญจาก Inter-Agency and Expert Group on SDG Indicators (IAEG-SDGs) ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 231 ตัวชี้วัด

การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (SCP-SDG12)

คำนิยามของสมัชชาโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาได้อธิบายความหมายของ “การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน” (Sustainable Production and Consumption) ว่า “การผลิตและการบริโภคที่สามารถตอบสนองความจำเป็นของคนรุ่นปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่สร้างข้อจำกัดต่อความจำเป็นของคนในรุ่นถัดไป ภายใต้สภาวะที่มีอยู่อย่างจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติ ที่ต้องสงวนรักษาไว้ใช้ประโยชน์และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น” ทั้งนี้ การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน เป็นเป้าหมายที่ 12 ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

กรอบการดําเนินงานระยะ 10 ปี ว่าด้วยการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน (10YFP)

ดําเนินการให้เป็นผลตามกรอบการดําเนินงานระยะ 10 ปี ว่าด้วยการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืนที่ทุกประเทศนําไปปฎิบัติ โดยประเทศพัฒนาแล้วเป็นผู้นําโดยคํานึงถึงการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศกําลังพัฒนา (10YFP-SCP)

ดัชนีผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Performance Index; EPI)

ดัชนีผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Performance Index; EPI) พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง ศูนย์นโยบายด้านกฎหมายและสิ่งแวดล้อมแห่ง มหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา กับศูนย์เครือข่ายวิทยาศาสตร์โลกนานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เป็นการนำข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมมาจัดทำเป็นดัชนีที่บอกประสิทธิภาพการดำเนินงานด้สนสิ่งแวดล้อม และสถานะความยั่งยืนของ 180 ประเทศทั่วโลก โดยมีการนำคะแนนมาจัดอันดับว่าประเทศที่มีการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมเข้าใกล้เป้าหมายนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมตามที่ระบุไว้ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) และแต่ละประเทศสามารถใช้เป็นแนวทางในการติดตามการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของตัวเองได้อีกด้วย