การประชุมรับฟังความคิดเห็น “แนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก (ระยะที่ 2)

ปี 2023  |  ข่าวและกิจกรรม

การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก (ระยะที่ 2) จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00-12:00 น. ณ ห้องประชุม YT-711 ชั้น 7 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โยธี กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.จิตติ มังคละศิริ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทสย.) กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม ในการประชุมดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากร 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  สถาบันพลาสติก และ บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด ในการบรรยายเรื่อง “การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลาสติกและประเด็นความท้าทาย ในมุมมองเชิงนโยบาย วิจัยและพัฒนา และเชิงพาณิชย์” โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแผน ววน. สาขาเศษฐกิจหมุนเวียนของกลุ่มพลาสติก 11 หน่วยงาน รวมกว่า 27 ท่าน อาทิ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ กรมควบคุมมลพิษ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ บริษัท เอสซีจี เคมิคอล จำกัด โฮลดิ้งส์ จํากัด สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สายงานอุตสาหกรรมและชุมชน และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

สำหรับกิจกรรมดังกล่าวเป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการ “การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน ระยะที่ 2” สนับสนุนทุนวิจัยโดย สกสว.ดำเนินการโดยสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทสย.) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อผลักดันและประสานเครือข่ายให้ได้ข้อเสนอแนะต่อแผนด้าน ววน. และโจทย์วิจัยที่มีการจัดลำดับความสำคัญ ชี้ทิศทาง รวมทั้งแนวทางการสนับสนุนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และแนวทางการสนับสนุนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในสาขาเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับอุตสาหกรรมพลาสติก

การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในประเด็นต่าง ๆ เพื่อช่วยในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลาสติกจากเศรษฐกิจเส้นตรงเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน ทั้งนี้ได้มีข้อเสนอแนะในประเด็นดังต่อไปนี้

  • ด้านการจัดการ อาทิ มุ่งเน้นการนำขยะพลาสติกที่ใช้แล้วกลับเข้าสู่ระบบการรีไซเคิล การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อมุ่งเน้นการบริโภคอย่างยั่งยืนและการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ รวมถึงมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงผลกระทบในระดับโลกและความจำเป็นเร่งด่วนในบริบทของประเทศไทย
  • ด้านการสร้างเครือข่าย อาทิ การดำเนินการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสถาบันวิจัย เพื่อร่วมมือกันในการพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของอุตสาหกรรมพลาสติก การจัดทำแพลตฟอร์มที่เชื่อมเครือข่ายข้อมูลระหว่างวัตถุดิบ ผู้ผลิต ตลอดจนองค์ความรู้ของนักวิจัยที่สามารถทำงานพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบนั้นได้
  • ด้านการปรับปรุงข้อกำหนด นโยบายและกฎหมาย อาทิ การกำหนดมาตรฐานและจัดทำฐานข้อมูลคุณสมบัติของพลาสติกที่จะนำกลับมาใช้ใหม่ การออกกฎหมายสนับสนุน Refill station ภายในประเทศไทย การออกมาตรการสนับสนุนเรื่อง Chemical Recycling เพื่อพลาสติกประเภท Multilayer flexible สามารถรีไซเคิลได้ รวมถึงกฎ/ระเบียบ/ มาตรการอื่นใดที่รองรับการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของอุตสาหกรรมพลาสติก

สามารถสแกน QR Code เพื่อดาวน์โหลดเอกสารนำเสนอในรูปแบบไฟล์ PDF ทางด้านล่าง:

ข่าวและกิจกรรม

ปี 2024  |  ข่าวและกิจกรรม

กิจกรรมนักวิจัยพบสื่อมวลชน NSTDA Meets the Press เรื่อง สวทช. นำ วทน. ช่วยบริหารจัดการอาหารส่วนเกินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารอาหารของประเทศไทย (Thailand’s Food Bank)

กิจกรรมนักวิจัยพบสื่อมวลชน NSTDA Meets the Press เรื่อง สวทช. นำ วทน. ช่วยบริหารจัดการอาหารส่วนเกินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารอาหารของประเทศไทย (Thailand’s Food Bank)

ปี 2024  |  ข่าวและกิจกรรม

งานเปิดตัวฐานข้อมูล CO2, CE, SDGs เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย สู่เศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ

งานเปิดตัวฐานข้อมูล CO2, CE, SDGs เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย สู่เศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ

ปี 2024  |  ข่าวและกิจกรรม

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การคาดการณ์ค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) และการคาดการณ์ค่า Factor เป้าหมายในขอบเขตการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)”

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การคาดการณ์ค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) และการคาดการณ์ค่า Factor เป้าหมายในขอบเขตการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)” ภายใต้โครงการ “การประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) เพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ”