PM2.5 ภัยคุกคามสุขภาพ และแนวทางแก้ไขปัญหา

ปี 2021  |  บทความทั่วไป

ปัจจุบันประเทศไทยเผชิญปัญหามลภาวะทางอากาศที่รุนแรงมากขึ้นทุกปี  โดยเฉพาะในเมืองหลวงและพื้นที่หัวเมืองภาคเหนือ เราจะได้ยินข่าวสารภัยผลกระทบสุขภาพจากมลภาวะทางอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝุ่น PM2.5 เป็นประจำทุกปี ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและภาควิชาการมีความพยายามศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ถึงแม้ว่าหน่วยงานภาครัฐได้ประกาศเป็นวาระแห่งชาติก็ตาม แต่ปัญหาก็ไม่ได้บรรเทาลง จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการหาแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาในระยะยาว

PM2.5 คืออะไร PM ย่อมาจาก Particulate Matters ดังนั้น PM2.5 ก็คือฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กมาก โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมโครเมตร หรือหากเปรียบเทียบกับขนาดเส้นผมของเรา ก็ประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผม ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าและขนจมูกของคนเราก็ไม่สามารถกรองฝุ่นนี้ได้ ถ้ามีฝุ่น PM2.5 ในอากาศปริมาณสูงมาก จะมีลักษณะคล้ายกับมีหมอกควัน ฝุ่น PM2.5 สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ และซึมเข้าสู่กระแสเลือด นอกจากนี้ ตัวฝุ่นเองยังเป็นพาหะนำสารมลพิษอื่นเข้ามาด้วย เช่น โลหะหนัก สารก่อมะเร็ง เป็นต้น

ผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 สำหรับผู้ที่ร่างกายแข็งแรงเมื่อได้รับฝุ่น PM2.5 อาจจะไม่มีผลกระทบในระยะแรก แต่ถ้าได้รับสัมผัสเป็นระยะเวลานาน หรือมีการสะสมในร่างกาย ก็จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพในภายหลังได้ แต่สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว จะได้รับผลกระทบมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ผลกระทบต่อสุขภาพสำคัญ ได้แก่ การก่อให้เกิดอาการไอ จาม หรือภูมิแพ้ ส่วนผู้ที่เป็นภูมิแพ้ฝุ่น จะถูกกระตุ้นให้เกิดอาการรุนแรงมากขึ้น การก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหลอดเลือดและหัวใจเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรัง หรือมะเร็งปอด นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดผลกระทบทางผิวหนัง เช่น ผื่นผิวหนังอักเสบ ระคายเคืองผิว โรคภูมิแพ้ผิวหนัง กระตุ้นการเกิดอนุมูลอิสระที่จะทำลายผิว เป็นต้น (กระทรวงสาธารณสุข, 2562)

แนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้น การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศล้วนแล้วเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ เช่น การภาวนาให้ฝนตก การรอให้ลมเปลี่ยนทิศ การฉีดน้ำขึ้นไปในอากาศ การรณรงค์ให้ประชาชนมีความตระหนักรู้และป้องกันตนเองโดยการใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง เป็นต้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการแก้ไขปัญหาควรแก้ที่ต้นเหตุ โดยต้นเหตุสำคัญของฝุ่น PM2.5 ในเมืองใหญ่นั้น มาจากการใช้รถยนต์ (การเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์สันดาปภายใน) การลักลอบเผาขยะ การเผาไหม้เชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงการก่อสร้างต่างๆ ซึ่งส่งผลให้คุณภาพอากาศแย่ลง 

 

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข (2562) คู่มือการดำเนินงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ปี 2563, กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี.

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ โดยดาวน์โหลดเอกสารทางด้านล่าง:

 

บทความทั่วไป

Publications & Media

ปี 2023  |  Publications & Media

การประชุมรับฟังความคิดเห็น “แนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก (ระยะที่ 2)

การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก (ระยะที่ 2) จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00-12:00 น. ณ ห้องประชุม YT-711 ชั้น 7 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โยธี กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.จิตติ มังคละศิริ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทสย.) กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม ในการประชุมดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากร 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  สถาบันพลาสติก และ บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด ในการบรรยายเรื่อง “การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลาสติกและประเด็นความท้าทาย ในมุมมองเชิงนโยบาย วิจัยและพัฒนา และเชิงพาณิชย์” โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแผน ววน. สาขาเศษฐกิจหมุนเวียนของกลุ่มพลาสติก 11 หน่วยงาน รวมกว่า 27 ท่าน อาทิ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ กรมควบคุมมลพิษ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ บริษัท เอสซีจี เคมิคอล จำกัด โฮลดิ้งส์ จํากัด สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สายงานอุตสาหกรรมและชุมชน และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

ปี 2023  |  Publications & Media

งานประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร จัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2566 เวลา 09:00-12:00 น. ณ ห้องแมจิก 1 ชั้น G โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม ในการประชุมดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากร 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย กลุ่มมิตรผล บริษัท โอโว่ ฟู้ดเทค จำกัด และ มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) ในการบรรยายเรื่อง “การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนกับการพัฒนาด้านเกษตรและอาหาร” “การใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าไข่แบบครบวงจรด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน” และ “กอบกู้ อาหารส่วนเกิน – อาหารเหลือทิ้งเพื่อระบบอาหารที่ยั่งยืน” ตามลำดับ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแผน ววน. สาขาเศษฐกิจหมุนเวียนของกลุ่มเกษตรและอาหาร 37 แห่ง รวมกว่า 70 ท่าน อาทิ หน่วยบริหารและการจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และบริษัท ศูนย์วิทยาศาสตร์เบทาโกร จำกัด

ปี 2023  |  Publications & Media

งานประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง

การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 18 เมษายน 2566 เวลา 09:00-13:00 น. ณ ห้องเจมินี่ ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.จิตติ มังคละศิริ Strategic Agenda Team – Circular Economy และ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สวทช.กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม ในการประชุมดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากร 2 หน่วยงาน ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ การเคหะแห่งชาติ ในการบรรยายเรื่อง “ภาพรวมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยปัจจุบันและอนาคต” และ“แนวทางงานวิจัยและดำเนินการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของการเคหะแห่งชาติ” ตามลำดับ ทั้งนี้วิทยากรจากทั้ง 2 หน่วยงาน ยังได้ร่วมเสวนาเรื่อง “โจทย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เพื่อมุ่งไปสู่การบูรณาการแผนและแนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมก่อสร้าง” ร่วมกับตัวแทนจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ บริษัท เอสซีจีซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด และ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแผน ววน. สาขาเศษฐกิจหมุนเวียนของกลุ่มก่อสร้างรวมกว่า 50 ท่าน อาทิ หน่วยงานบริหารและการจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สภาวิศวกร สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม SCG Cement-Building Materials บมจ.ผลิตภัณฑ์ตราเพชร และผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้าง