การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) การศึกษาการจัดทำข้อมูลอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวตามบริบทของไทย: เสาหลักที่ 9 ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Pillar 9: Environmental Sustainability)

ปี 2022  |  ข่าวและกิจกรรม

การจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อนำเสนอและหารือการศึกษาการจัดทำข้อมูลอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวตามบริบทของไทยในเสาหลักความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Pillar 9: Environmental Sustainability) จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 09.00 – 16.00 น. ผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกล (Video Conference) ด้วยโปรแกรม Cisco Webex Meetings มีผู้เข้าร่วมประชุมจากตัวแทนหน่วยงานที่สำคัญของไทยกว่า 70 ท่าน อาทิ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรมควบคุมมลพิษ กรมป่าไม้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ องค์การจัดการน้ำเสีย และกรมประมง

การศึกษาดังกล่าว เป็นการดำเนินการภายใต้โครงการ “การศึกษาการจัดทำข้อมูลอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวตามบริบทของไทย” โดยสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทสย.) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาระเบียบวิธีการจัดทำข้อมูลและจัดอันดับดัชนีความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว (Travel and Tourism Competitiveness Index: TTCI) ที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย ใน 3 เสาหลัก (Pillar) ประกอบด้วย สุขภาพและอนามัย ความมั่นคงปลอดภัย และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างเครือข่ายการจัดทำข้อมูล TTCI กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการยกอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของไทยโดย

ทั้งนี้ การประชุมในวันดังกล่าวแบ่งการนำเสนอออกเป็น 2 ช่วง ช่วงละ 5 ตัวชี้วัด ดังนี้

  1. ช่วงเช้าเวลา 09.00 – 12.00 น. นำเสนอตัวชี้วัดที่ 9.01 ความเข้มงวดของกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม (Stringency of environmental regulations) ตัวชี้วัดที่ 9.02 การบังคับใช้กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม (Enforcement of environmental regulations) ตัวชี้วัดที่ 9.03 ความยั่งยืนของการพัฒนาอุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยว (Sustainability of travel and tourism industry development) ตัวชี้วัดที่ 05 จำนวนการให้สัตยาบันสนธิสัญญาสิ่งแวดล้อม (Number of environmental treaty ratifications) ตัวชี้วัดที่ 9.07 สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Threatened species)
  2. ช่วงบ่ายเวลา 13.00 – 16.00 น. นำเสนอตัวชี้วัดที่ 04 ความเข้มข้นของฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (Particulate matter (2.5) concentration) ตัวชี้วัดที่ 9.08 การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ (Forest cover change) ตัวชี้วัดที่ 9.06 พื้นฐานความเครียดด้านน้ำ (Baseline water stress) ตัวชี้วัดที่ 9.09 การบำบัดน้ำเสีย (Wastewater treatment) ตัวชี้วัดที่ 9.10 สถานะมวลสัตว์น้ำ (Fish stock status)

การจัดประชุมกลุ่มย่อยเสาหลักความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมในครั้งนี้ หน่วยงานที่เข้าร่วมได้ให้ข้อคิดเห็นต่อการจัดทำตัวชี้วัดที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการฯ โดยมีการหารือถึงข้อจำกัดของการได้มาของข้อมูลและการรายงานตัวชี้วัด (อาทิ ปีข้อมูลที่นำมาใช้ในการจัดทำ วิธีการคำนวณ และจัดทำตัวชี้วัด) การรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำตัวชี้วัดต่อหน่วยงานระหว่างประเทศที่เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิง รวมถึงแนวโน้มและความเป็นไปได้ในการจัดทำเป็นระบบข้อมูลกลางในการรายงานอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว (TTCI) ของประเทศไทยที่สามารถเชื่อมโยงกับประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

สามารถสแกน QR Code เพื่อดาวน์โหลดเอกสารนำเสนอในรูปแบบไฟล์ PDF ทางด้านล่าง:

ข่าวและกิจกรรม

ปี 2023  |  ข่าวและกิจกรรม

การประชุมรับฟังความคิดเห็น “แนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก (ระยะที่ 2)

การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก (ระยะที่ 2) จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00-12:00 น. ณ ห้องประชุม YT-711 ชั้น 7 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โยธี กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.จิตติ มังคละศิริ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทสย.) กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม ในการประชุมดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากร 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  สถาบันพลาสติก และ บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด ในการบรรยายเรื่อง “การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลาสติกและประเด็นความท้าทาย ในมุมมองเชิงนโยบาย วิจัยและพัฒนา และเชิงพาณิชย์” โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแผน ววน. สาขาเศษฐกิจหมุนเวียนของกลุ่มพลาสติก 11 หน่วยงาน รวมกว่า 27 ท่าน อาทิ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ กรมควบคุมมลพิษ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ บริษัท เอสซีจี เคมิคอล จำกัด โฮลดิ้งส์ จํากัด สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สายงานอุตสาหกรรมและชุมชน และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

ปี 2023  |  ข่าวและกิจกรรม

งานประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร จัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2566 เวลา 09:00-12:00 น. ณ ห้องแมจิก 1 ชั้น G โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม ในการประชุมดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากร 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย กลุ่มมิตรผล บริษัท โอโว่ ฟู้ดเทค จำกัด และ มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) ในการบรรยายเรื่อง “การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนกับการพัฒนาด้านเกษตรและอาหาร” “การใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าไข่แบบครบวงจรด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน” และ “กอบกู้ อาหารส่วนเกิน – อาหารเหลือทิ้งเพื่อระบบอาหารที่ยั่งยืน” ตามลำดับ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแผน ววน. สาขาเศษฐกิจหมุนเวียนของกลุ่มเกษตรและอาหาร 37 แห่ง รวมกว่า 70 ท่าน อาทิ หน่วยบริหารและการจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และบริษัท ศูนย์วิทยาศาสตร์เบทาโกร จำกัด

ปี 2023  |  ข่าวและกิจกรรม

งานประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง

การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน: กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 18 เมษายน 2566 เวลา 09:00-13:00 น. ณ ห้องเจมินี่ ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.จิตติ มังคละศิริ Strategic Agenda Team – Circular Economy และ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สวทช.กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม ในการประชุมดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากร 2 หน่วยงาน ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ การเคหะแห่งชาติ ในการบรรยายเรื่อง “ภาพรวมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยปัจจุบันและอนาคต” และ“แนวทางงานวิจัยและดำเนินการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของการเคหะแห่งชาติ” ตามลำดับ ทั้งนี้วิทยากรจากทั้ง 2 หน่วยงาน ยังได้ร่วมเสวนาเรื่อง “โจทย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เพื่อมุ่งไปสู่การบูรณาการแผนและแนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมก่อสร้าง” ร่วมกับตัวแทนจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ บริษัท เอสซีจีซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด และ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแผน ววน. สาขาเศษฐกิจหมุนเวียนของกลุ่มก่อสร้างรวมกว่า 50 ท่าน อาทิ หน่วยงานบริหารและการจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สภาวิศวกร สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม SCG Cement-Building Materials บมจ.ผลิตภัณฑ์ตราเพชร และผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้าง