วิถีชีวิตและการศึกษาอย่างยั่งยืน

 

วิถีชีวิตและการศึกษาอย่างยั่งยืน (Sustainable Lifestyles and Education; SLE) เป็นหนึ่งในกรอบการดำเนินงานระยะ10 ปีว่าด้วยการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (10 Year Framework of Programmes on Sustainable Consumption and Production Patterns: 10 YFP on SCP) ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาและจำลองวิถีชีวิตที่ยั่งยืนและวิถีชีวิตคาร์บอนต่ำ การเรียนรู้เพื่อการใช้ชีวิตแบบยั่งยืน และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตคนรุ่นปัจจุบัน รวมถึงกำหนดรูปแบบวิถีชีวิตให้กับคนรุ่นใหม่ โดยแนวความคิดนี้จะช่วยกำหนดนโยบาย ธุรกิจและภาคประชาสังคม เพื่อสร้างระบบความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน รวมถึงการจัดการกับความท้าทายระดับโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขจัดความยากจน ประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

นอกจากนี้ วิถีชีวิตและการศึกษาอย่างยั่งยืนใช้ทรัพยากรและเครื่องมือหลายอย่างที่ช่วยกำหนดชีวิตที่ยั่งยืนผ่านมุมมองที่แตกต่างกัน ได้แก่ ระบบพลังงานในครัวเรือน พฤติกรรมผู้บริโภค การสื่อสาร การขนส่ง (mobility) การวางผังเมือง

โปรแกรมวิถีชีวิตและการศึกษาอย่างยั่งยืนประยุกต์ใช้ 3 สิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืน

  • วิถีชีวิตที่ยั่งยืน หมายถึง ชีวิตที่ดีสำหรับทุกคนอย่างเท่าเทียมกันภายในระบบนิเวศของพวกเรา
  • การเปลี่ยนแปลงสู่วิถีชีวิตที่ยั่งยืนนั้นเป็นเรื่องเร่งด่วน และจำเป็นสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ใหญ่ขึ้นและอนาคตที่ยั่งยืน
  • การสร้างวิถีชีวิตที่ยั่งยืนเป็นความท้าทายอย่างเป็นระบบที่เสริมด้วยการเลือกของแต่ละบุคคลโดยต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคนในสังคม

Key lifestyles domains

  • อาหาร (Food) : อาหารและเครื่องดื่มที่เรากินและดื่ม ผลิตและแปรรูปอย่างไร และวิธีกำจัดเศษเหลือทิ้งทั้งหมดซึ่งทั้งหมดจะมีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • ที่อยู่อาศัย (Housing) : วิธีที่เราอาศัยอยู่ ที่เราอาศัยอยู่ สิ่งที่ใช้ในการสร้างความร้อน และการทำความเย็นของที่อยู่อาศัย และสิ่งที่เราติดตั้งในบ้านของเราล้วนมีผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • การขนส่ง (Mobility) : การเลือกขนส่งรูปแบบใด ความถี่ที่ในการเดินทางและระยะทางที่เดินทางรวมถึงระบบสนับสนุน และโครงสร้างพื้นฐานมีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer goods) : ผลิตภัณฑ์ที่ซื้อมีชนิดและปริมาณของวัสดุที่ใช้ในการผลิตเท่าไหร่ มีวิธีการใช้อย่างไร่ และความถี่ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ซึ่งทั้งหมดจะมีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • สันทนาการ (Leisure) : เราใช้เวลาว่างในการเลือการท่องเที่ยวแบบใด จุดหมายปลายทาง กิจกรรม และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เราใช้ทั้งหมดมีผลสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม


ที่มา: Lewis, A. and Huizhen, C., 2016. A framework for shaping sustainable lifestyles determinants and strategies. UN Environment, pp. 13-17

แรงขับเคลื่อนสู่วิถีชีวิต (Drivers of lifestyles)

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตสามารถแสดงออกมาเป็นชั้นของขอบเขตดังรูป โดยเริ่มจากความต้องการและความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้คนซึ่งความต้องการเหล่านี้จะมีส่วนช่วยในการกำหนดระดับชั้นของสถานการณ์ส่วนบุคคล เงื่อนไขทางเทคนิคของสังคม และในที่สุดเพื่อให้อยู่ในขอบเขตที่ยั่งยืนความต้องการและความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้คนนั้นจะต้องสามารถบรรลุได้ภายในขอบเขตทางกายภาพ และทางธรรมชาติ โดยรูปภาพนี้นำเสนอระดับของปัจจัยตั้งแต่ระดับไมโครไปจนถึงระดับมาโครซึ่งแรงขับเคลื่อนสู่วิถีชีวิต ซึ่งบางส่วนของแรงขับเคลื่อนสู่วิถีชีวิต ได้แก่

  • ระดับรายได้
  • คุณค่า
  • ความตระหนัก
  • ความรู้
  • บรรทัดฐานทางสังคมและเพื่อนร่วมงาน
  • สื่อ
  • ราคาตลาด
  • เทคโนโลยี
  • โครงสร้างพื้นฐาน
  • นโยบายและกรอบสถาบัน

 

Lifestyle material footprint

Lifestyle material footprint คือ เครื่องมือในการวัดการใช้ทรัพยากรในตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ บริการ และกิจกรรมที่มีรูปแบบการดำเนินชีวิต เช่น รูปแบบการบริโภคอาหาร รูปแบบการเดินทางหรือการขนส่ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 การใช้วิถีชีวิตหลักในการดำเนินชีวิต ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้วัสดุในการใช้ชีวิต ได้แก่
1) อาหารและโภชนา (Food & Nutrition) เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่มที่บริโภค
2) บ้าน (Home) เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่อาศัย การใช้พลังงาน และการใช้น้ำโดยตรง เช่น น้ำสำหรับดื่ม ทำอาหาร ดูแลส่วนตัว/บ้าน
3) การขนส่ง (Mobility) โครงสร้างพื้นฐานการเดินทางและการขนส่ง เช่น การเดิน การใช้รถยนต์ จักรยาน การขนส่งสาธารณะ การเดินทางอากาศ ทั้งนี้ พิจารณาทั้งการดินทางในชีวิตประจำวัน และการท่องเที่ยว
4) สินค้าอุปโภคและบริโภค (Household goods) สินค้าอุปโภคและบริโภครวมถึงผลิตภัณฑ์หลายกลุ่มใน 7 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, เสื้อผ้า, รองเท้า, เครื่องสำอาง และการดูแลส่วนบุคคล, อัญมณี, เฟอร์นิเจอร์ และผลิตภัณฑ์กระดาษ
5) สันทนาการ (Leisure) กีฬา งานอดิเรก กิจกรรมทางวัฒนธรรมและสังคม
6) วัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น ที่พักการเดินทาง และสัตว์เลี้ยง

ที่มา  https://www.wbcsd.org/Programs/People/Sustainable-Lifestyles/Resources/Lifestyle-Material-Footprint-An-explanation

 

อ้างอิง

https://www.oneplanetnetwork.org/sustainable-lifestyles-and-education

Lewis, A. and Huizhen, C., 2016. A framework for shaping sustainable lifestyles determinants and strategies. UN Environment, pp. 27-29

 


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ:

นงนุช พูลสวัสดิ์
นักวิจัย
02 564 6500 ต่อ 4857
nongnucp@mtec.or.th