เป้าประสงค์ที่ 12.c:

ทำให้การอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไร้ประสิทธิภาพและนำไปสู่การบริโภคที่สิ้นเปลืองมีความสมเหตุสมผล โดยจำกัดการบิดเบือนทางการตลาดโดยให้สอดคล้องสภาวะแวดล้อมของประเทศ รวมถึงการปรับโครงสร้างภาษีและเลิกการอุดหนุนที่เป็นภัยเหล่านั้นในที่ที่ยังมีการใช้อยู่ เพื่อให้สะท้อนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงอย่างเต็มที่ถึงความจำเป็นและเงื่อนไขที่เจาะจงของประเทศกำลังพัฒนาและลดผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้นที่จะมีต่อการพัฒนาของประเทศเหล่านั้นในลักษณะที่เป็นการคุ้มครองคนจนและชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

ตัวชี้วัดที่ 12.c.1.
จำนวนเงินอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลต่อหน่วย GDP (การผลิตและการบริโภค)

 

Tier Classification:                                Tier I (by IAEG-SDG Members) As of 17 April 2020
หน่วยงานที่รับผิดชอบ:                            กระทรวงพลังงาน
สถานะข้อมูลของประเทศไทย:                  มีข้อมูล
ปีที่รายงาน:                                               ปี พ.ศ. 2563

วิธีการและสูตรคำนวณวัดตัวชี้วัด:

ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) จะมีการรายงานผลตัวชี้วัดที่ 12.c.1 จำนวนเงินอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลต่อหน่วย GDP (การผลิตและการบริโภค) ในปี พ.ศ.2563 เป็นปีแรก ซึ่งต้องใช้ข้อมูลงบประมาณรายจ่ายประจำปีด้านพลังงานของรัฐบาลจึงจะสามารถรายงานผลได้ โดยวิธีการประเมินใน Meta Data ระบุว่า จำนวนเงินอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลสามารถรวบรวมได้จาก 3 ตัวชี้วัดย่อย ดังนี้

  1. Direct transfer of funds คือ เงินที่รัฐบาลจ่ายให้กับหน่วยงานของรัฐ และองค์กรเอกชนที่มีการดำเนินการด้านพลังงาน ได้แก่ งบประมาณรายปีที่รัฐบาลจัดสรรให้กับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใช้ในการบริหารหน่วยงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการต่างๆ ของกองทุน
  2. Induced transfers คือ เงินอุดหนุนที่รัฐบาลใช้เพื่อปรับลดราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลให้กับประชาชน สำหรับประเทศไทย Meta Data ได้แนะนำให้ใช้ค่าประมาณการอุดหนุนที่คำนวณโดย IMF ด้วยวิธี price – gap
  3. Tax revenue foregone หรือรายจ่ายภาษี คือรายรับ (ของภาครัฐบาล) ที่สูญเสียไปเนื่องจากข้อกำหนดของกฎหมายที่อนุญาตให้มีการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเป็นพิเศษ หรืออนุญาตให้เครดิต ลดอัตราภาษี หรือมีภาษีรอการตัดบัญชีได้เป็นพิเศษ ในด้านพลังงาน

ทั้งนี้การรายงานผลตัวชี้วัดที่ 12.c.1 จำนวนเงินอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลต่อหน่วย GDP (การผลิตและการบริโภค) สามารถคำนวณได้จากสมการ ดังนี้
LLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLLL
เมื่อ จำนวนเงินอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิล = Direct transfer of funds + Induced transfers + Tax revenue foregone
๘๘ มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) = มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศ GDP (การผลิตและการบริโภค)
๘๘ โดยหน่วยการประเมินตัวชี้วัดที่ 12.c.1 คือ เปอร์เซ็นต์

เอกสารประกอบเพิ่มเติม:

SDG Indicators Metadata repository. Link to https://unstats.un.org/sdgs/metadata/?Text=&Goal=12&Target=12.c

เอกสารอ้างอิง:

[1] รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับปีสิ้นสุดแต่ละปี
[2] IMF Energy Subsidies Template

หน่วยงานรับผิดชอบ:


ผู้เรียบเรียง:

อัจฉรา ชินสอน
ผู้ช่วยวิจัย
02 564 6500 ต่อ 4775
adchara.chi@mtec.or.th