เป้าประสงค์ที่ 12.a:

สนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการเสริมความแข็งแกร่งของขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ที่จะขับเคลื่อนไปสู่รูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น

ตัวชี้วัดที่ 12.a.1:
•จำนวนนับของการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน และเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับประเทศที่กำลังพัฒนา (เดิม)
•กำลังผลิตที่ติดตั้งพลังงานทดแทนหมุนเวียนในประเทศกำลังพัฒนา  (watt per capita)  (ใหม่)
(ปรับปรุงเมื่อ 17 เมษายน 2563 และ ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาความเหมาะสม) 

 

Tier Classification:                                Tier III
หน่วยงานที่รับผิดชอบ:                            ไม่แน่ชัด
สถานะข้อมูลของประเทศไทย:                  มีความพร้อมของข้อมูลแต่ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องตัวชี้วัด ณ ปัจจุบันรวมถึงหน่วยงานรับผิดดชอบที่ชัดเจน
ปีที่รายงาน:                                              ยังไม่มีการรายงาน

ผลการรายงานตัวชี้วัด:

ได้มีการประชุมของหน่วยงาน United Nations Statistical Commission หรือ UNSC ครั้งที่ 51 เมื่อวันที่ 3-6มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา มีข้อเสนอให้มีการทบทวนตัวชี้วัดในเป้าประสงค์ต่าง ๆ เพื่อให้คณะกรรมการสถิติแห่งสหประชาชาติร่วมพิจารณา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ถูกเสนอในการทบทวนที่ครอบคลุมในการประชุมครั้งนี้  จะเกี่ยวข้องกับ การแทนที่/   การแก้ไข/   การเพิ่ม/ การลบ  ตัวชี้วัดในเป้าประสงค์ต่าง ๆ ที่ถูกเสนอขึ้นมา โดยเป้าประสงค์ที่ 12.a ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกนำเข้ามาพิจารณาในที่ประชุมในครั้งนี้ด้วย [1]

สำหรับผลการประชุมการพิจารณาตัวชี้วัด 12.a.1 ของเป้าประสงค์ที่ 12.a ในที่ประชุม UNSC 51st ถูกเสนอให้มีการนำตัวชี้วัดที่ 7.b.1   มาใช้ร่วมกับตัว   ชี้วัดที่ 12.a.1 โดยตัวชี้วัดที่ 7.b.1 เป็นเรื่องของ “กำลังผลิตที่ติดตั้งพลังงานทดแทนหมุนเวียนในประเทศกำลังพัฒนา (watt per capita)” และการเปลี่ยนแปลงตัวชี้วัดดังกล่าวยังไม่มีการระบุ TIER ที่ชัดเจน โดยสถานะยังถูกระบุว่าเป็น “pending data availability review” [2]

สำหรับประเทศไทย ได้มีการประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 4 (Focus group) : ตัวชี้วัดที่ 12.a.1 ภายใต้โครงการ ภายใต้โครงการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนของประเทศไทย ระยะที่ 3 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา โดยกลุ่มผู้ร่วมเข้าประชุมกลุ่มย่อยดังกล่าว เป็นผู้เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดเดิมของ 12.a.1   และตัวชี้วัดใหม่ ต่างได้ให้ความเห็นไปในแนวทางเดียวกันว่า ควรมีการพิจารณาทบทวนความเหมาะสมเกี่ยวกับตัวชี้วัดนี้ ที่ถูกเสนอให้เปลี่ยนแปลงจากการประชุม UNSC ครั้งที่ 51 อีกครั้งเนื่องจากรายละเอียดของตัวชี้วัดที่เปลี่ยนแปลงนั้น เป็นการวัดที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงเกินไปหากจะพิจารณาให้ตอบตามเป้าประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการเสริมความแข็งแกร่งของขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะขับเคลื่อนไปสู่รูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น

เอกสารประกอบเพิ่มเติม:

SPP Index Methodology : SDG indicator 12.a.1. Link to https://unstats.un.org/unsd/statcom/51st-session/documents/2020-2-SDG-IAEG-Rev-EE.pdf. 

เอกสารอ้างอิง:

[1] United Nation E/CN.3/2020/2. “Report of the Inter-Agency and Expert Group on Sustainable Development Goal Indicators” Access data : 17 มิถุนายน 2563. Available at https://unstats.un.org/unsd/statcom/51st-session/documents/2020-2-SDG-IAEG-Rev-EE.pdf.
[2] Tier classification sheet (as of 17 April 2020) Access data : 17 มิถุนายน 2563. Available at  https://unstats.un.org/sdgs/iaeg-sdgs/tier-classification/.

หน่วยงานรับผิดชอบ:


ผู้เรียบเรียง:

ทัศนีย์วรรณ ชมอินทร์
ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส
02 564 6500 ต่อ 4776
tassanc@mtec.or.th