เป้าประสงค์ที่ 12.3:

ลดขยะเศษอาหารของโลกลงครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค และลดการสูญเสียอาหารจากระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว ภายในปี พ.ศ. 2573

ตัวชี้วัดที่ 12.3.1.a
Food loss index ดัชนีการสูญเสียอาหาร

 

Tier Classification:                                Tier II
หน่วยงานที่รับผิดชอบ:                            กรมวิชาการเกษตร
สถานะข้อมูลของประเทศไทย:                  ไม่มีข้อมูลที่ครอบคลุมทุกซ่วงโซ่อุปทานอาหาร (Food supply chain)
ปีที่รายงาน:                                               ยังไม่มีการรายงาน

ผลการรายงานตัวชี้วัด[1]:

เนื่องจากการประเมินตัวชี้วัดนี้เกี่ยวข้องกับการประเมินการสูญเสียอาหารในช่วงการจัดการหลังเก็บเกี่ยว การขนส่ง การเก็บรักษา การค้าส่ง จนถึงการแปรรูป และต้องมีตัวแทนอย่างน้อย 2 ตัวแทน ในแต่ละกลุ่มอาหารทั้ง 5 กลุ่มอาหาร (commodity)1 ซึ่งประกอบด้วย ธัญพืชและถั่ว ผักและผลไม้ พืชที่มีหัวและรากและพืชที่มีเมล็ดให้น้ำมัน ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากปลา ประกอบกับจำนวนการสุ่มตัวอย่างตามแนวทางที่ FAO กำหนดมีปริมาณตัวอย่างมากและกระจายทั่วประเทศ ดังนั้นการได้มาซึ่งข้อมูลต้องอาศัยงบประมาณ เวลาและแรงงาน อย่างมาก ปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับการสูญเสียอาหารน้อยมาก อีกทั้งแต่ละงานวิจัยมีการสุ่มตัวอย่างและวิธีการคำนวณที่แตกต่างกัน ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลมาใช้ได้ทันทีโดยข้อมูลการประเมิน Food Loss Index (FLI) ที่สามารถนำมาใช้เป็นปีฐาน จะเสร็จสิ้นภายในปี 2021 ภายใต้งานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) โดยสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS) ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จะเป็นหน่วยงานที่ช่วยสนับสนุนระบบเก็บข้อมูลและประเมินผลตัวชี้วัดดังกล่าว เพื่อเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนตัวชี้วัดนี้ให้สำเร็จได้

ตัวชี้วัดที่ 12.3.1.b
Food waste index ดัชนีขยะอาหาร

 

Tier Classification:                                Tier II
หน่วยงานที่รับผิดชอบ:                           กรมควบคุมมลพิษ
สถานะข้อมูลของประเทศไทย:                  ไม่มีข้อมูลที่ครอบคลุมทุกซ่วงโซ่อุปทานอาหาร (Food supply chain)
ปีที่รายงาน:                                               ยังไม่มีการรายงาน

ผลการรายงานตัวชี้วัด[1]:

จากการรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่ดูแลข้อมูลต่าง ๆ ของประเทศไทย เช่น ข้อมูลเชิงสถิติ และรายงานผลการศึกษา ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดของโลกและตัวชี้วัดในบริบทของประเทศไทย โดยเน้นตัวชี้วัดการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน และเป้าหมาย/เป้าประสงค์ ที่เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดเหล่านั้น พบว่า ข้อมูลส่วนใหญ่ของประเทศไทยด้านการสูญเสียขยะอาหารเป็นข้อมูลปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหารแบบภาพรวม ไม่มีการจำแนกสัดส่วนตามประเภทของอาหาร (Food commodity) และวิธีการประเมิน การเก็บข้อมูล นิยามและขอบเขตมีความแตกต่างกัน ยังไม่เป็นไปตามนิยามมาตรฐานสากล และข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันของประเทศไทย ไม่ครอบคลุมห่วงโซ่อุปทานอาหาร และไม่ครอบคลุมทุกประเภทกลุ่มอาหาร ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้เป็นตัวแทนของประเทศได้ รวมถึงการเปรียบเทียบกับต่างประเทศได้ ปัจจุบันมีหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักของการประเมินหาทั้ง FLW  แต่ไม่มีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงข้อมูล และการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เป็นผู้ให้ข้อมูลทำให้ขาดความต่อเนื่องและครอบคลุมของข้อมูล เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลที่ต้องใช้ประกอบการประเมินจำนวนมากและจากหลายแหล่งที่มาของข้อมูล

เอกสารประกอบเพิ่มเติม:

Link to https://unstats.un.org/sdgs/metadata/files/Metadata-12-03-01A.pdf
Link to https://unstats.un.org/sdgs/metadata/files/Metadata-12-03-01B.pdf

เอกสารอ้างอิง:

[1] FAO, 2018, SDG 12.3.1: Global Food Loss Index METHODOLOGY FOR MONITORING SDG TARGET 12.3. AS APPROVED BY THE INTERAGENCY AND EXPERT GROUP ON SGD INDICATORS, 6 NOVEMBER 2018 THE GLOBAL FOOD LOSS INDEX DESIGN, DATA COLLECTION METHODS AND CHALLENGES

หน่วยงานรับผิดชอบ:
__  _ _________
รับผิดชอบตัวชี้วัดที่ 12.3.1.a                   รับผิดชอบตัวชี้วัดที่ 12.3.1.b


ผู้เรียบเรียง:
                                                                        _
จันทิมา สำเนียงงาม                                                               เบญจมาภรณ์ ถนอมนิ่ม
ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส                                                                    ผู้ช่วยวิจัย
ผู้เชี่ยวชาญด้าน Food Loss Index                                       ผู้เชี่ยวชาญด้าน Food Waste Index
02 564 6500 ต่อ 4075                                                         02 564 6500 ต่อ 4770
jantimau@mtec.or.th                                                          benjamaporn.tha@mtec.or.th