การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การทดสอบระบบแพลตฟอร์มการลดก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมการท่องเที่ยวและบริการ” ครั้งที่ 6 ภายใต้โครงการ “การพัฒนาแพลตฟอร์มส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการคาร์บอนต่ำ ตามหลักเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) แบบมีส่วนร่วม”

ปี 2024  |  ข่าวและกิจกรรม

การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การทดสอบระบบแพลตฟอร์มการลดก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมการท่องเที่ยวและบริการ” ครั้งที่ 6 หรือ TOCA Platform [https://tocaplatform.org/] จัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 10 มกราคม 2567 เวลา 13:00-16:00 น. ณ ห้องประชุม Conference 1 โรงแรมศิวาเทล กรุงเทพมหานคร โดยมี คุณอรุษ นวราช หัวหน้าชุดโครงการวิจัยและนายกสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม ร่วมด้วยการนำเสนอผลการจัดทำแพลตฟอร์มจากหัวหน้าโครงการวิจัยย่อยจาก 2 หน่วยงาน ได้แก่ รศ.ดร. ณภัทร จักรวัฒนา จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ดร.จิตติ มังคละศิริ จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

การประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนรวมกว่า 38 ท่าน จาก 18 องค์กร อาทิ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค และ The Athenee Hotel, A Luxury Collection Hotel, Bangkok ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เสนอข้อคิดเห็นอย่างกว้างขวาง อาทิ การใช้งานแพลตฟอร์มแบบจำลองการคำนวณการลด Carbon Footprint จากกิจกรรมการผลิตและการใช้วัตถุดิบเกษตรอินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพ การจัดการพลังงาน การจัดการทรัพยากร การจัดการขยะและเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านแพลตฟอร์ม มีส่วนช่วยในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการคาร์บอนต่ำ รวมถึงการนำระบบ Earth points System มาใช้ร่วมกับแพลตฟอร์ม ตลอดจนการจัดกิจกรรมเวิร์คช็อป อาจช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่มีความสนใจและมีพันธกิจการดำเนินงานเพื่อส่งสริมการลด Carbon Footprint มากขึ้น

การประชุมดังกล่าว เป็นการดำเนินงานภายใต้ชุดโครงการวิจัย “การพัฒนาแพลตฟอร์มส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการคาร์บอนต่ำตามหลัก เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) แบบมีส่วนร่วม” โดยได้รับสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และมีสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) เป็นหัวหน้าชุดโครงการ ร่วมด้วยอีก 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย (1) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2) สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทสย.) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ (3) บริษัทมัลเบอร์รี่ ซอฟต์ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคำนวณการลด Carbon Footprint จากกิจกรรมการผลิตและการใช้วัตถุดิบเกษตรอินทรีย์ การจัดการพลังงาน การจัดการทรัพยากร การจัดการขยะ และเศรษฐกิจหมุนเวียน และใช้ในแพลตฟอร์มส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการคาร์บอนต่ำ เพื่อพัฒนา Earth Points System จากการนำค่าบ่งชี้การลด Carbon Footprint ไปใช้เป็นฐานการคำนวณในแพลตฟอร์ม ตลอดจนเพื่อสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่มีความสนใจและมีพันธกิจการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการลด Carbon Footprint ให้นำ Earth Points System ในแพลตฟอร์มส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการคาร์บอนต่ำ ไปผลักดันใช้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ข่าวและกิจกรรม

ปี 2024  |  ข่าวและกิจกรรม

กิจกรรมนักวิจัยพบสื่อมวลชน NSTDA Meets the Press เรื่อง สวทช. นำ วทน. ช่วยบริหารจัดการอาหารส่วนเกินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารอาหารของประเทศไทย (Thailand’s Food Bank)

กิจกรรมนักวิจัยพบสื่อมวลชน NSTDA Meets the Press เรื่อง สวทช. นำ วทน. ช่วยบริหารจัดการอาหารส่วนเกินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารอาหารของประเทศไทย (Thailand’s Food Bank)

ปี 2024  |  ข่าวและกิจกรรม

งานเปิดตัวฐานข้อมูล CO2, CE, SDGs เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย สู่เศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ

งานเปิดตัวฐานข้อมูล CO2, CE, SDGs เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย สู่เศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ

ปี 2024  |  ข่าวและกิจกรรม

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การคาดการณ์ค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) และการคาดการณ์ค่า Factor เป้าหมายในขอบเขตการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)”

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การคาดการณ์ค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) และการคาดการณ์ค่า Factor เป้าหมายในขอบเขตการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)” ภายใต้โครงการ “การประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) เพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ”