เนื่องด้วยภาครัฐเป็นหน่วยงานที่มีกำลังการจัดซื้อที่มีมูลค่าสูงคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในกลุ่มประเทศ OECD และร้อยละ 30 ของ GDP ในประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่ง การผลักดันในเกิดนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐอย่างยั่งยืน จะเป็นการส่งเสริมให้บรรลุการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (SDG 12) ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยการจัดทำกลยุทธ์และแนวปฏิบัติด้านนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่ยั่งยืนอย่างชัดเจน รวมถึงจำเป็นต้องมีมาตรฐาน กฎระเบียบ และเครื่องมือ ที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการดำเนินงานของทั้งภาครัฐ และภาคผู้ผลิตและภาคบริการด้วย
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากจะสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศแล้ว ยังก่อให้เกิดการจ้างงานหลายล้านตำแหน่ง สร้างความมั่งคั่งและผาสุกแก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง แต่อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็ใช้ทรัพยากรสูงเพื่อรักษาคุณภาพการท่องเที่ยวให้เป็นที่พึงพอใจกับผู้บริโภค ซึ่งหากไม่มีบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ อาจส่งผลทางลบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้น แนวทางของการพัฒนาท่องเที่ยวที่ยั่งยืนได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในหลากหลายด้าน การส่งเสริมการการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืนถือเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินการ โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างมูลค่าควบคู่ไปกับการเคารพการใช้ทรัพยากรท้องถิ่น
เป็นส่วนที่มีความสำคัญ ที่ทำให้ผู้บริโภคทราบถึงข้อมูลความยั่งยืนของสินค้าหรือบริการ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งในอดีตอาจเป็นข้อมูลด้านที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญน้อยกว่าด้านเศรษฐกิจ แต่ในปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มหันมาใส่ใจและตระหนักด้านนี้มากขึ้น ดังนั้น การสื่อสารข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความน่าเชื่อถือในเชิงวิทยาศาสตร์ เข้าใจง่าย จึงเป็นส่วนที่สำคัญในการเพิ่มแรงกระตุ้นและจิตสำนึกรักษ์โลกให้แก่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้ข้อมูล และยังอาจเป็นการเพิ่มแรงผลักดันหรืออำนาจในการต่อรองไปสู่การกำหนดนโยบาย รวมถึงเพิ่มโอกาสในการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่การบริโภคอีกด้วย
ความท้าทายในการสร้างความยั่งยืนของอุตสาหกรรมก่อสร้าง (Sustainable Building and Construction; SBC) เป็นการรวบรวมองค์ความรู้และแนวทางการบูรณการเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนทางด้านการก่อสร้างและการจัดการอาคารแบบองค์รวม ซึ่งสามารถดำเนินงานได้หลายมิติ เช่น การประยุกต์หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในวัฏจักรชีวิตของการก่อสร้าง เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด
ระบบอาหารที่ยั่งยืน (SFS) เป็นระบบอาหารที่ให้ความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการแก่ทุกคนในมิติด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการสำหรับคนรุ่นต่อไปซึ่งจะไม่ลดลง หมายความว่า มีกำไรตลลอด (ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ) มีประโยชน์ในวงกว้างสำหรับสังคม (ความยั่งยืนทางสังคม) และมีผลกระทบเชิงบวกหรือเป็นกลางต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ (ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม)
ระบบอาหารยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDG) ซึ่งนำมาใช้ในปี 2558 โดย SDGs เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในด้านการเกษตรและระบบอาหารเพื่อยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงด้านอาหารและปรับปรุงโภชนาการภายในปี พ.ศ. 2573
วิถีชีวิตและการศึกษาอย่างยั่งยืน (Sustainable Lifestyles and Education; SLE) เป็นหนึ่งในกรอบการดำเนินงานระยะ 10 ปี ว่าด้วยการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาและจำลองวิถีชีวิตที่ยั่งยืนและวิถีชีวิตคาร์บอนต่ำ การเรียนรู้เพื่อการใช้ชีวิตแบบยั่งยืน และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตคนรุ่นปัจจุบัน รวมถึงกำหนดรูปแบบวิถีชีวิตให้กับคนรุ่นใหม่ โดยแนวความคิดนี้จะช่วยกำหนดนโยบาย ธุรกิจและภาคประชาสังคม เพื่อสร้างระบบความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน รวมถึงการจัดการกับความท้าทายระดับโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขจัดความยากจน ประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
Copyright © 2019 สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทย.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ